การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคเอสทีเอดีร่วมกับผังกราฟิกเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการทำงานกลุ่มของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคเอสทีเอดีร่วมกับผังกราฟิก 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม และ 3) ศึกษาความสามารถในการทำงานกลุ่มของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคเอสทีเอดีร่วมกับผังกราฟิก กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา จำนวน 21 คนได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้มีความเหมาะสมระดับมากที่สุด (= 4.65 , SD= 0.43) 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าความยาก (p) ระหว่าง 0.33 – 0.60 ค่าอำนาจจำแนก (r) ระหว่าง 0.40–0.70 และค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.95 และ 3) แบบวัดความสามารถการทำงานกลุ่ม มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.67-1.00 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีกรณีกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระต่อกันและการทดสอบทีกรณีกลุ่มตัวอย่างเดียว ผลการวิจัยพบว่า
1) นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคเอสทีเอดีร่วมกับผังกราฟิกมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน (= 38.05, SD= 3.94) สูงกว่าก่อนเรียน (
= 31.57, SD= 6.48) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคเอสทีเอดีร่วมกับผังกราฟิก มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคเอสทีเอดีร่วมกับผังกราฟิกมีความสามารถในการทำงานกลุ่มอยู่ในระดับดี (
= 2.90, S.D= 0.10)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
คณะครุศาสตร์. (2561). หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561. นครสวรรค์: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
จันทร์ ติยะวงษ์. (2564). ผลการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่องการบวก ลบ คูณ หาร พหุนามที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.10(1): 34 - 45.
ชไมพร รังสิยานุพงศ์. (2558). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พฤติกรรมการทำงานกลุ่มและเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องความน่าจะเป็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 โรงเรียนอัมพวันวิทยาลัย โดยใช้วิธี การสอนแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ STAD. วิทยานิพนธ์หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (คณิตศาสตร์). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2558). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. (พิมพ์ครั้งที่ 6). นนทบุรี: พี บาลานซ์ดี ไซด์แอนปริ้นติ้ง.
ณัฏฐ์ชญา อินพูลวงษ์, ผลาดร สุวรรณโพธิ์, และวิมลรัตน์ จตุรานนท์. (2560). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์เจตคติต่อคณิตศาสตร์และพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคSTAD. วิทยานิพนธ์หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยบูรพา.
ทิศนา แขมมณี. (2548). รูปแบบการสอน: ทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
_______. (2557). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดการกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บัญชา ชินโณ, และมาลี ศรีพรหม. (2557). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้รูปแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์(STAD) ร่วมกับกระบวนการสร้างตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ที่ส่งผลต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ พฤติกรรมการทำงานกลุ่มและเจตคติต่อ วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารบัณฑิตศึกษา. 11(52): 75 - 88.
ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2553). การพัฒนาการคิด. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจํากัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
ภัทรภร พิกุลขวัญ. (2563). การพัฒนาทักษะทางสังคมและผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ในรายวิชาชีววิทยาในระดับโรงเรียนเรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับผังความคิดของนักศึกษาหลักสูตรครุศาตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์. วารสารครุศาตร์ปริทรรศน์ฯ. 7(2): 268 - 279.
รุ่ง แก้วแดง. (2545). ร่วมปฏิรูปการเรียนรู้กับครูต้นแบบ การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ:สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
สุนันท์ กิตติวรนันท์. (2536). ผลของการใช้บทบาทสมมติที่มีต่อความสามารถในงานกลุ่มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนช่องพรานวิทยา อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การมัธยมศึกษา).มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
สุริยะ หาญพิชัย.(2562). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค Student Teams Achievement Divisions (STAD) ในรายวิชากฎหมายปกครองสำหรับรัฐประศาสนศาสตร์. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 2(3): 23 – 32.
เสาวนีย์ ปฐมนรา, นันท์นภัส นิยมทรัพย์, และจินตนา ศิริธัญญารัตน์. (2564). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการทำงานกลุ่มโดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือในสาระภูมิศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารสังคมศาสตร์วิจัย. 12(2): 17 - 37.
เสาวภา นภาสกุล, มณเทียร ชมดอกไม้, และไพศาล หวังพานิช. (2563). ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะและเทคนิคทีจีทีที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ). วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า. 7(2): 39 - 46.
อลงกรณ์ อู่เพ็ชร. (2561). ผลการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานที่มีต่อความสามารถในการทำงานกลุ่มวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี 4 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. Veridian E-Journal Silpakorn University. ฉบับภาษาไทยสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ. 11(3): 3068 - 3080.
อัญตรา ทุมทอง. (2557). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD วิชาเคมี เรื่องพันธะโคเวเลนต์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4กลุ่มโรงเรียนสหวิทยาเขตสวนเทพรัตน์ทีปไท จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Slavin, Robert E. (1995). Cooperative Learning: Theory Research and Practice. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.
Tiantong, M., & Teemuangsai, S. (2013). Student Team Achievement Divisions (STAD) Technique through
the Moodle to Enhance Learning Achievement. International Education Studies. 6(4): 85 - 92.