ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในจังหวัดอุทัยธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุทัยธานี ชัยนาท
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับของปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา
2) ศึกษาระดับของการบริหารงานวิชาการ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารงานวิชาการกับการบริหารงานวิชาการ 4) สร้างสมการพยากรณ์การบริหารงานวิชาการ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 248 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีการจับฉลาก เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการ มีค่าความเที่ยงระหว่าง 0.80-0.99 การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า
1) ระดับปัจจัยการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ปัจจัยด้านครูอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ปัจจัยด้านภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาอยู่ในระดับมากที่สุด และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ปัจจัยด้านอาคารสถานที่อยู่ในระดับมาก 2) ระดับการบริหารวิชาการของสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านกระบวนการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ด้านการแนะแนวการศึกษาอยู่ในระดับมากที่สุด และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านการพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอยู่ในระดับมาก 3) ค่าความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารงานวิชาการกับการบริหารวิชาการมีความสัมพันธ์กันทางบวก โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) ปัจจัยด้านอาคารสถานที่ (X5) ปัจจัยด้านผู้ปกครองและชุมชน (X3) ปัจจัยด้านสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา (X6) ปัจจัยด้านครู (X2) และปัจจัยด้านงบประมาณ (X4) ส่งผลต่อการบริหารวิชาการของสถานศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สามารถพยากรณ์การบริหารวิชาการของสถานศึกษาได้ร้อยละ 78 ดังสมการพยากรณ์ดังนี้
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ
Y' = 0.68 + 0.28(X5) + 0.16(X3) + 0.16(X6) +0.15(X2) +0.09(X4)
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน
Z = 0.38(Z5) + 0.20(Z3) + 0.21(Z6) +0.17(Z2) +0.12(Z4)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
_______. (2561). คู่มือการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
_______. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 พุทธศักราช 2545). กรุงเทพฯ: คุรุสภา.
เขษมสร โข่งศรี, และชัยรัตน์ บุมี. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานของสถานศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัย ราชภัฏกำแพงเพชร.
ชนกานต์ เอี่ยมสะอาด, และสถิรพร เชาวน์ชัย. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน มัธยมศึกษาจังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ณพรรษกรณ์ ชัยพรม. (2565). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร. การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ณัฐธิดา งามตา. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 36 สหวิทยาเขตอิงโขง. การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยพะเยา.
ธริศร เทียบปาน. (2562). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนาในเขตจังหวัดภาคใต้. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
นงนุช อินทรโคกสูง. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
ปพนสรรค์ โพธิพิทักษ์. (2560). แนวคิดสู่การปฏิบัติการบริหารสถานศึกษา. นครสวรรค์: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏนครสวรรค์.
ปริยาภรณ์ ตั้งคุณานันต์. (2563). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: มีน เซอร์วิส ซัพพลาย.
ปรีชา ตุ้มโท. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษามัธยมศึกษาในจังหวัดชัยนาท. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
ปารณี เพชรสีช่วง. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 14. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
มณีวรรณ แหวนหล่อ. (2561). สภาพการบริหารงานวิชาการของครูในระดับประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยรังสิต.
ยงยุทธ พนัสนอก. (2563). การบริหารจัดการศึกษาแบบทวิศึกษาที่ส่งผลต่อคุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษาที่พึงประสงค์ของสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดจันทบุรี ระยองและตราด. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
รัตนา กาญจนพันธุ์. (2563). การบริหารสถานศึกษาในสถานการณ์วิกฤตไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 10(3): 545-556.
สิน งามประโคน, และคณะ. (2562). การบริหารการศึกษา: แนวคิด ทฤษฎีและรูปแบบการบริหารจัดการ. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 6(3): 134-146.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุทัยธานี ชัยนาท. (2564). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. อุทัยธานี: ผู้แต่ง.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). รายงานสรุปผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปี 2565. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
สำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. (2564). รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2565). รายงานสรุปผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติประจำปี 2565. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
โสภณา เศวตคชกุล. (2562). กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการโรงเรียนสองภาษา หลักสูตรไทย-อังกฤษ สังกัดกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
อธิวัฒน์ พันธ์รัตน์. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3): 607-610.