การจัดการเรียนรู้แบบ STEM EDUCATION เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ ในประเพณีไหลแพไฟ จังหวัดอุตรดิตถ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

วิภาพร เวียงเงิน
สิรินภา กิจเกื้อกูล

บทคัดย่อ

การวิจัยวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวการจัดการเรียนรู้แบบ STEM EDUCATION 2)พัฒนาทักษะ การแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง ปริซึมและทรงกระบอก และ 3) ศึกษาผลการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ เรื่อง ปริซึมและทรงกระบอก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เมื่อจัดการเรียนรู้แบบ STEM EDUCATION กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนขยายโอกาสแห่งหนึ่งในอำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 2 คน โดยวิธีการแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบบันทึกกิจกรรมแบบสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ ชิ้นงานของนักเรียน และแบบวัดทักษะการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ โดยมีค่าความเชื่อมั่นที่ 0.879 ด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า


            1) แนวการจัดการเรียนรู้แบบ STEM EDUCATION ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน (1) ขั้นระบุปัญหา ควรเป็นสถานการณ์ที่มีความเกี่ยวข้องในชีวิตประจำวัน (2) ขั้นรวบรวมข้อมูล ควรให้นักเรียนได้เข้าใจแนวคิดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง (3) ขั้นออกแบบวิธี       การแก้ปัญหาควรกระตุ้นให้นักเรียนได้ใช้แนวคิดเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ในการแก้ปัญหา (4) ขั้นวางแผนและดำเนินการแก้ปัญหาควรกระตุ้นให้นักเรียนได้เห็นถึงความสัมพันธ์ของการใช้แนวคิดทางคณิตศาสตร์ในการสร้างชิ้นงาน (5) ขั้นทดสอบ ประเมินผลและปรับปรุงวิธีการแก้ปัญหา ควรมีการแสดงผลการทดสอบ โดยอาจให้นำเสนอชิ้นงานหน้าชั้นเรียนให้นักเรียนสามารถเห็นได้ชัดเจน (6) ขั้นนำเสนอผลการแก้ไขปัญหา ควรให้นักเรียนได้สะท้อนหรือตีความเกี่ยวกับการใช้แนวคิดทางคณิตศาสตร์เข้ามาแก้ปัญหาหรือสร้างชิ้นงาน 2) นักเรียนสามารถพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ได้ โดยสามารถทำความเข้าใจปัญหาได้ดีที่สุด แต่มีความสามารถในการเตรียมความพร้อมที่จะดำเนินการแก้ปัญหาได้น้อยที่สุด  และ 3) ผลการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ พบว่า ทั้ง วงจรที่ 1 - 3 นักเรียนมีค่าเฉลี่ยร้อยละอยู่ในระดับดี ร้อยละ 87.5, 75 และ 87.5 ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
เวียงเงิน ว., & กิจเกื้อกูล ส. . (2024). การจัดการเรียนรู้แบบ STEM EDUCATION เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ ในประเพณีไหลแพไฟ จังหวัดอุตรดิตถ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 . วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 7(1), 142–153. https://doi.org/10.2774.EDU2024.1.263174
บท
บทความวิจัย

References

กิตติ พัฒนตระกูลสุข. (2546). การเรียนการสอนคณิตศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษาของประเทศไทยล้มเหลวจริงหรือ. วารสารคณิตศาสตร์. 46(474-475): 54-58.

จิระประภา คำภาเกะ. (2563). การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ปริซึมและทรงกระบอก โดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิดร่วมกับเกมคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (คณิตศาสตร์). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ทรงยศ สกุลยา, และวนินทร สุภาพ. (2563). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เรื่อง การประยุกต์สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวด้วยกระบวนการคิดให้เป็นคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 22(4): 88-100.

พันธ์ยุทธ น้อยพินิจ, วนินทร สุภาพ, และจักรกฤษ กลิ่นเอี่ยม. (2562). การวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ภาคตัดกรวย ด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต. 13(1): 70-84.

วนัสนันท์ ชูรัตน์. (2564). การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์โดยใช้รูปแบบการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ร่วมกับอินโฟกราฟิกสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง กรด-เบส. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (วิทยาศาสตร์ศึกษา). มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ศศิธร ศรีวงษ์ญาติดี, และเนาวนิตย์ สงคราม. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โปรแกรมหุ่นยนต์ด้วยวัฏจักรการเรียนรู้ 7E เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์. Online Journal of Education. 12(3): 185-201.

สามารถ ทองเฝือ. (2557). การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ปี 2558 ของหน่วยงานผลิตบัณฑิตในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สิรินภา กิจเกื้อกูล. (2557). การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ทิศทางสำหรับครูศตวรรษที่ 21. เพชรบูรณ์: จุลดิชการพิมพ์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สุธีระ ประเสริฐสรรพ์. (2559). สะเต็มศึกษา: ปัญหาจากกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม. สงขลา: นำศิลป์โฆษณา.

อรพันธ์ ประสิทธิรัตน์. (2554). รายงานการวิจัย เรื่องการศึกษาสภาพแวดล้อมทางการเรียนของนิสิตคณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางเขน.

Lyn, & Donna. (2015). STEM learning through engineering design: Fourth-grade students’ investigations in aerospace. International journal of stem education. 2: 1-18.

OECD PISA Collaborative Problem-Solving Expert Working Group (2013). PISA 2015 draft collaborative problem-solving framework. Retrieved May, 25, 2023, from https://www.oecd.org./pisa/pisaproducts/ Draft%20PISA%202015%20Collaborative%20Problem%20Solving%20Framework%20.pdf.

Roberts, A. (2013). STEM is here. Now what?. Technology and engineering Teacher. 73(1): 22.

Schack, E. O., Fisher, M. H., & Wilhelm, J. (2017). Teacher noticing: Bridging and Broadening perspectives, contexts, and frameworks. New York, NY: Springer International.

Sherwood Horton-Deutsch. (2017). Reflective Practice: Transforming Education and Improving Outcomes. Indianapolis: Sigma Theta Tau International.