การประเมินโครงการส่งเสริมและสนับสนุนสถานศึกษาให้มีความพร้อมรับการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินบริบทของโครงการส่งเสริมและสนับสนุนสถานศึกษาให้มีความพร้อมรับการประเมินคุณภาพภายนอก 2) ประเมินปัจจัยเบื้องต้นของโครงการส่งเสริมและสนับสนุนสถานศึกษาให้มีความพร้อมรับ การประเมินคุณภาพภายนอก 3) ประเมินกระบวนการของโครงการส่งเสริมและสนับสนุนสถานศึกษาให้มีความพร้อมรับ การประเมินคุณภาพภายนอก และ 4) ประเมินผลผลิตของโครงการส่งเสริมและสนับสนุนสถานศึกษาให้มีความพร้อมรับ การประเมินคุณภาพภายนอก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ คณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ผู้บริหาร และครู จำนวน 114 คน ซึ่งได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ได้แก่ แบบสอบถามฉบับที่ 1 สำหรับคณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาประเมินก่อนดำเนินโครงการในด้านบริบทและด้านปัจจัยเบื้องต้น มีค่าความเชื่อมั่น 0.79 แบบสอบถามฉบับที่ 2 สำหรับคณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาประเมินระหว่างดำเนินโครงการในด้านกระบวนการ มีค่าความเชื่อมั่น 0.87 และแบบสอบถามฉบับที่ 3 สำหรับผู้บริหาร และครูที่รับผิดชอบงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาประเมินหลังดำเนินโครงการในด้านผลผลิต มีค่าความเชื่อมั่น 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า
การประเมินโครงการส่งเสริมและสนับสนุนสถานศึกษาให้มีความพร้อมรับการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 ในภาพรวมทุกด้านผ่านเกณฑ์ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ดังนี้ 1) การประเมินด้านบริบท โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โครงการสอดคล้องกับปัญหาและความต้องการ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 2) การประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด การนิเทศ ติดตาม ส่งเสริมและสนับสนุนสถานศึกษามีความต่อเนื่องสม่ำเสมอ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 3) การประเมินด้านกระบวนการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก คณะทำงานมีการปรึกษาหารือและระดมความคิดในการปฏิบัติงานร่วมกัน มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด และ 4) การประเมินด้านผลผลิต โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก การซักซ้อมการประเมินมีข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะที่สถานศึกษาสามารถนำไปปฏิบัติได้ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2561).กฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 135 ตอนที่ 11 ก หน้าที่ 3-5.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
รุ่งทิวา ธราวรรณ. (2556).การประเมินโครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาลบูรพาพิทยาคาร กองการศึกษาเทศบาลเมืองมหาสารคาม. จังหวัดมหาสารคาม: เอกสารอัดสำเนา.
รุ่งทิวา แย้มรุ่ง, และประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2561). การประเมินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพสถานศึกษาที่ต่ำกว่าเกณฑ์. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์. 18(2): 45-58.
วรเดช จันทรศร, และไพโรจน์ ภัทรนรากุล. (2543). การประเมินผลในระบบเปิด. กรุงเทพฯ: สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์นิด้า.
สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (2541). ความรู้พื้นฐานสำหรับการประเมินโครงการทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2562). รายงานการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา.
สุนีรัตน์ จันทร์รัก. (2555). แบบจำลอง CIPP Model. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2566, จาก https://www.gotoknow.org/posts/453748.
สุพาลิตร สมเขาใหญ่. (2561). การประเมินโครงการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนบ้านเขาทราย. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.gotoknow.org/posts/578441.
อรอุมา แก้วมณีโชติ. (2558). การประเมินโครงการประเมินคุณภาพภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วิทยานิพนธ์ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต (การวิจัยและประเมินทางการศึกษา). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.