การพัฒนาทักษะการคิดเชิงมโนทัศน์ วิชานาฏศิลป์ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์บทบาทสมมติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้เสริมทักษะการคิดเชิงมโนทัศน์ วิชานาฏศิลป์ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์บทบาทสมมติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ที่เรียนรู้ด้วยการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้เสริมทักษะการคิดเชิงมโนทัศน์ วิชานาฏศิลป์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 3) ศึกษาทักษะการคิดเชิงมโนทัศน์ วิชานาฏศิลป์ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์บทบาทสมมติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนนครพนมวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 22 จังหวัดนครพนม จำนวน 32 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้เสริมทักษะการคิดเชิงมโนทัศน์ วิชานาฏศิลป์ 2) ข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชานาฏศิลป์ 3) แบบประเมินทักษะการคิดเชิงมโนทัศน์ วิชานาฏศิลป์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า
1) แผนการจัดการเรียนรู้เสริมทักษะการคิดเชิงมโนทัศน์ วิชานาฏศิลป์ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์บทบาทสมมติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 82.19/86.50 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชานาฏศิลป์ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์บทบาทสมมติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .01 และ 3) ทักษะการคิดเชิงมโนทัศน์ วิชานาฎศิลป์ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์บทบาทสมมติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อยู่ในระดับดี
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กานต์ญาณิศา สุนทร, สุรกานต์ จังหาร, และประสพสุข ฤทธิเดช. (2564). การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 15(3): 137-139.
นิติญาภรณ์ ศรีไพร. (2563). การพัฒนาทักษะการปฏิบัติ โดยใช้วิธีการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) ร่วมกับสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) รายวิชานาฏศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม. ขอนแก่น: โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25.
ศิริมงคล นาฏยกุล. (2551). นาฏยศิลป์ หลักกายวิภาคและการเคลื่อนไหว. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
สินีนาฎ แสงแพ, และปัทมาวดี เล่ห์มงคล. (2563). ผลของการจัดกิจกรรมการเล่านิทานประกอบบทบาทสมมติ เพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองในเด็กปฐมวัย. วารสารจันทรเกษมสาร. 26(1): 117-130.
สิริวดี ชูเชิด. (2561). การพัฒนาทักษะทางการเรียนของนักศึกษาโดยใช้การแสดงบทบาทสมมติในรายวิชาการพัฒนาองค์การ. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 8(3): 6-11.
สุชานาฏ ไชยวรรณะ, และอนงค์นารถ ยิ้มช้าง. (2565). การพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะสมองของเด็กปฐมวัยโดยการใช้กิจกรรมการเล่นละครและบทบาทสมมติ สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ. 12(1): 115-129.
สุพัตรา สุโพธิ์พัฒน์. (2562). การศึกษาทักษะนาฏศิลป์ไทยและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ระบำนพรัตน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะปฏิบัติของเดวีส์ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
เสาวคนธ์ จันต๊ะมาต. (2565). การใช้กิจกรรมบทบาทสมมติเพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาจีนของนักศึกษาโปรแกรมวิชาการสอนภาษาจีน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 3(1): 81-84.
อิทธิเดช น้อยไม้. (2564). การพัฒนาทักษะการคิดเชิงมโนทัศน์ในวิชาสังคมศึกษาเพื่อผู้เรียนแห่งศตวรรษที่ 21. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 49(3): 11.