การพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมเป็นฐานร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

สุวีรา เทพทำพันธ์
เกษทิพย์ ศิริชัยศิลป์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิผลของหลักสูตรส่งเสริมการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมเป็นฐานร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 2) เพื่อศึกษาผลการใช้หลักสูตรส่งเสริมการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมเป็นฐานร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนเทศบาล 7 (ศิรินาวินวิทยา) สังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 17 คน ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย โดยใช้วิธีจับฉลากโรงเรียนในเทศบาลนครลำปางได้โรงเรียนเทศบาล 7 (ศิรินาวินวิทยา) และจับฉลากเลือกได้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่  1) หลักสูตรฯ 2) คู่มือการใช้หลักสูตรฯ และ 3) แบบทดสอบวัดการอ่านภาษาอังกฤษ โดยมีค่าความค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติแบบทดสอบทีแบบไม่อิสระ ผลการวิจัยพบว่า


            1) การสร้างและหาประสิทธิผลของหลักสูตรฯ มีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมของหลักสูตรฯ อยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{X}= 4.41, S.D. = 0.79) คู่มือการใช้หลักสูตรฯ มีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมของคู่มือการใช้หลักสูตรฯ อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X}= 4.54, S.D. = 0.64)) ผลการหาประสิทธิผลของหลักสูตรฯ มีค่าดัชนีประสิทธิผลอยู่ที่ 0.5802 2) การศึกษาผลการอ่านภาษาอังกฤษ พบว่านักเรียนมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

Article Details

How to Cite
เทพทำพันธ์ ส., & ศิริชัยศิลป์ เ. . (2023). การพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมเป็นฐานร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 6(3), 246–258. https://doi.org/10.2774.EDU2023.3.262216
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กมลกัลย์ สตารัตน์. (2563). การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม อ16201 ภาษาอังกฤษเพื่อความเป็นเลิศเพื่อพัฒนาทักษะการฟังและการพูด โดยการจัดการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

จันทิมา แสงเลิศอุทัย. (2550). การพัฒนาหลักสูตรเสริมเพื่อสร้างสมรรถภาพทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ.

ณัฐกร สงคราม. (2556). การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนและการเขียน Script new.pdf. สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2565, จาก http://www.ns.mahidol.ac.th/english/KM/doc/article_km/การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนและการเขียน Script new.pdf.

ธีรวัฒน์ มูเก็ม. (2565). การพัฒนาทักษะการอ่านอัลกุรอานโดยใช้สื่อมัลติมีเดียสำหรับนักเรียนชั้นอิสลามศึกษาตอนกลางปีที่ 1. วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต (การสอนอิสลามศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

ธัญญาศิริ วงค์คำปวง. (2563). การพัฒนาหลักสูตรเสริมความฉลาดรู้ด้านการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารกาสะลองคำ. 14(1): 31 - 45.

ธันยพร บุญรักษา. (2565). การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 16(2): 114-124.

เพ็ญนภา ตลับกลาง. (2562). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้วิธีสอนกิจกรรมเป็นฐานสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต (การสอนภาษาอังกฤษ). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เยาวเรศ ภักดีจิตร. (2557). Active Learning กับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. เอกสารประกอบการเสวนาทางวิชาการ “วันส่งเสริมวิชาการสู่คุณภาพการเรียนการสอน” 30 กรกฎาคม 2557 ณ หอประชุม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

วรวุฒิ จิรสุจริตธรรม. (2553). การพัฒนาหลักสูตรเสริมเพื่อพัฒนาทักษะภาวะผู้นำเยาวชนในโรงเรียนอาชีวศึกษาคาทอลิก. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (วิชาการบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

ศศิธร พูลทอง. (2546). ผลของการใช้หนังสือส่งเสริมการว่านภาษาอังกฤษ ชุด ท้องถิ่นของเราสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย กรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ. (2550). Multimedia technology. สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2565, จาก http://www.nectec.or.th/courseware/multimedia.

สายใจ ฉิมมณี. (2555). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียการอ่านวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดบางช้างใต้. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีการศึกษา). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุทัศน์ เอกา. (2556). การเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน. สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2565, จากhttp://www.krumontree.com/www/index.php/documents/74-abl-activity-basedlearning.

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2545). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.

อินทิรา ศรีประสิทธิ์. (2553). แก้ปัญหาเด็กไทยติดเกม เพราะอ่านภาษาอังกฤษไม่ออก. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2565, จาก http:/earners.in.th/blog/edu32040909/347388.

โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2549). วิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

Saylor, J. G., & Alexander, W. M. (1981). Curriculum Planning for Better Teaching and Learning. New York: Holt, Rinehart and Winston.

Taba, H. (1962). Curriculum: Theory and Practice. Javanovich: Harcourt Brace.

Tyler, R. W. (1969). Basic Principles of Curriculum and Instruction. Chicago: The University of Chicago Press.