การพัฒนาหลักสูตรเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง สมการเชิงเส้น โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาดัชนีประสิทธิผลของหลักสูตรเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง สมการเชิงเส้น โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานสำหรับนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 แผนกคอมพิวเตอร์ ปีการศึกษา 2565 วิทยาลัยการอาชีพเถิน จำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ได้แก่ 1) หลักสูตรฯ 2) คู่มือการใช้หลักสูตรฯ และ 3) แบบแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์เรื่อง สมการเชิงเส้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติแบบทดสอบทีแบบไม่อิสระ ผลการวิจัยพบว่า
1) การสร้างและหาดัชนีประสิทธิผลของหลักสูตรฯ มีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมของหลักสูตรฯ อยู่ในระดับมาก ( = 4.15, S.D. = 0.65) คู่มือการใช้หลักสูตร มีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมของคู่มือการใช้หลักสูตรฯ อยู่ในระดับมาก (
= 4.23, S.D. = 0.53) ผลการหาดัชนีประสิทธิผลอยู่ที่ 0.6958 2) การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง สมการเชิงเส้น โดยใช้การจัด การเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 พบว่า คะแนนสอบหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
_______. (2562). ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดการศึกษาและการประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พ.ศ. 2562. สืบค้นเมื่อ 13 สิงหาคม 2565, จาก http://bsq2.vec.go.th/rule.html.
จันทร์เพ็ญ พวงสมบัติ. (2553). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 6(1): 73-80.
จันทิมา แสงเลิศอุทัย. (2550). การพัฒนาหลักสูตรเสริมเพื่อสร้างสมรรถภาพทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ.
ณัฐพงษ์ ชลุยรัตน์. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องสมการของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (คณิตศาสตร์ศึกษา). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ตะวันฉาย จอมศรี, และคณะ. (2563). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการเชิงเส้นสองตัวแปรของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1โดยใช้เทคนิคบาร์โมเดล. วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา. 3: 106-115.
ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อจัดการกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2556). ทฤษฎีและการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ (Theories and development instructional model). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เอสพริ้นติ้ง ไทย แฟคตอรี่.
บุญสนอง วิเศษสาธร. (2561). ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานต่อความสามารถในการแก้ปัญหา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. 30(1): 134-144.
ปรียานุช สถาวรมณี. (2548). การพัฒนากิจกรรมในหลักสูตรเสริมเพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ของนักเรียน. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
รุ่งทิวา จันทน์วัฒนวงษ์. (2557). เอกสารประกอบการสอน รายวิชาการพัฒนาหลักสูตร. อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
วรวุฒิ จิระสุจริตธรรม. (2553). การพัฒนาหลักสูตรเสริมเพื่อพัฒนาทักษะภาวะผู้นำเยาวชนในโรงเรียนอาชีวศึกษาคาทอลิก. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนมสหกรณ์การเกษตรเเห่งประเทศไทย จำกัด.
Saylor, J. G., & Alexander, W. M. (1981). Curriculum Planning for Better Teaching and Learning. New York: Holt, Rinehart and Winston.
Taba, H. (1962). Curriculum: Theory and Practice. Javanovich: Harcourt Brace.
Tyler, R. W. (1969). Basic Principles of Curriculum and Instruction. Chicago: The University of Chicago Press.