The ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารกับการบริหารงานวิชาการ ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 7 จังหวัดพิษณุโลก

Main Article Content

บรรณวิทย์ กึดก้อง
นงลักษณ์ ใจฉลาด

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยการบริหาร 2) ศึกษาระดับการบริหารงานวิชาการ และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารและการบริหารงานวิชาการ ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 7 จังหวัดพิษณุโลก กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารสถานศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาของศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 7 จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 76 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน และทำการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและนำเสนอเป็นค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า


            1) ระดับปัจจัยการบริหารศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 7 จังหวัดพิษณุโลกในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ปัจจัยด้านโครงสร้างองค์การ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ปัจจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 2) ระดับการบริหารงานวิชาการศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 7 จังหวัดพิษณุโลก ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม (EI) และเตรียมความพร้อม และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านการวัดผลและประเมินผล และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารและการบริหารงานวิชาการศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 7 จังหวัดพิษณุโลกในภาพรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับแอลฟ่าเท่ากับ .01

Article Details

How to Cite
กึดก้อง บ. ., & ใจฉลาด น. . (2023). The ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารกับการบริหารงานวิชาการ ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 7 จังหวัดพิษณุโลก. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 6(3), 89–98. https://doi.org/10.2774.EDU2023.3.261391
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). ทศวรรษที่สองของการปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

. (2560). แผนการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2560 – 2564). กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560 – 2579. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

จันทรานี สงวนนาม (2553). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: บุ๊คพอยท์.

ชไมพร ธิอ้าย. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนเฉพาะความพิการ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่มที่ 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ชูศักดิ์ ศิริเชียงพิณ, พนัส นาคบุญ, จิรุตถ์ ภู่เจริญ, อนุชา ภูมิสิทธิพร, สุวพัชร์ ช่างพินิจ, และศิริวิมล ใจงาม. (2564). สภาพการบริหารงานวิชาการของหน่วยบริการอำเภอศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 7 จังหวัดพิษณุโลก. Humanities and Social Sciences Journal of Pibulsongkram Rajabhat University. 15(1): 198 – 208.

ช่อทิพย์ มงคลธวัช. (2565). การศึกษาสภาพและแนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. Journal of Modern Learning Development. 7(5): 32 – 49.

ณัฐดนัย วงษาเนาว์. (2564). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารงานวิชาการโรงเรียนสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปวีณา บุทธิจักร. (2564). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ภาคภูมิ ทองลาด. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2551. (2551, 5 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 125 ตอนที่ 28 ก. หน้า 2.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2555). แนวคิด ทฤษฎี และประเด็นเพื่อการบริหารทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ทิพย์วิสุทธิ์.

วิมาลย์ ลีทอง. (2563). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 7 จังหวัดพิษณุโลก. (2564). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ปีการศึกษา 2564. พิษณุโลก: ศูนย์การศึกษาพิเศษฯ.

_______. (2565). สารสนเทศ ปีการศึกษา 2564. พิษณุโลก: ศูนย์การศึกษาพิเศษฯ.

สุรเชษฐ เดชประสิทธ์. (2560). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาระยอง เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยบูรพา.

สมยศ นาวีการ. (2550). การบริหาร. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บรรณกิจ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). คู่มือเส้นทางครูมืออาชีพสำหรับครูผู้ช่วย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2554). รายงานการวิจัยและพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูและผู้บริหารสถานศึกษาแบบ ใช้โรงเรียนเป็นฐานในโรงเรียนขนาดเล็กระยะที่ 1. กรุงเทพฯ: สรุปภาพรวม.

สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (2557). รายงานผลการติดตาม และประเมินผลการจัด การศึกษาสำหรับคนพิการและผู้ด้อยโอกาสของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ.

อรอุมา ไมยวงค์. (2564). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

Hoy, W. K., & Miskel, C. G. (2008). Educational administration: Theory, research and Practice. (8th ed). New York: McGraw-Hill.