การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดห้องเรียนกลับด้านเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ รายวิชาสหกรณ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนพัฒนานิคม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดห้องเรียนกลับด้านเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์รายวิชาสหกรณ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 และให้มีประสิทธิผลตามเกณฑ์ร้อยละ 60 ขึ้นไป 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์ และ 4) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 โรงเรียนพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี ภาคเรียนที่ 1/2565 จำนวน 44 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แผนการจัด การเรียนรู้ จำนวน 2 หน่วยการเรียน มีค่าความสอดคล้องระหว่าง 0.80-1.00 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 40 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.88 แบบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ จำนวน 6 ข้อ มีค่าความสอดคล้องระหว่าง 0.80-1.00 และแบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 28 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.88 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t-test ผลการวิจัยพบว่า
1) ผลการพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดห้องเรียนกลับด้านเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์เรื่องสหกรณ์ ได้ค่าประสิทธิภาพกระบวนการและ ค่าประสิทธิภาพผลลัพธ์ (E1/E2) = 77.64 /79.53 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 75/75 และมีค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) = 64.21 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ที่ตั้งไว้ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้แนวคิดห้องเรียนกลับด้าน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลการเปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์ระหว่างก่อนกับหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) ผลการศึกษาความพึงพอใจหลังเรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน โดยภาพรวมนักเรียนมีระดับความพึงพอใจในระดับ มากที่สุด ( = 4.53, S.D. = 1.80)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กิตติพันธุ์ วิบูลย์ศิลป์. (2560). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับทางร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุกที่มีผลต่อความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต (การศึกษาคณิตศาสตร์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชลยา เมาะราศี. (2556). ผลการเรียนที่ใช้วิธีการสอนแบบย้อนกลับร่วมกับห้องเรียนกลับ ด้านบนเครือข่ายสังคมวิชาการวิเคราะห์และแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีการเรียนรู้และสื่อสารมวลชน). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์ และคณะ. (2556). ประมวลสาระชุดวิชาการพัฒนาหลักสตร และสื่อการเรียนการสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เชิญตะวัน สุวรรณพานิช. (2556). ห้องเรียนกลับด้านขานรับความคิดใหม่. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2565, จาก http://www.taamkru.com/th/ห้องเรียนกลับด้านขานรับความคิดใหม่.
ณัฐพร ฐิติมโนวงศ, เนตรชนก จันทร์สว่าง, และต้นสกุล ศานติบูรณ. (2562). การจัดการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรมห้องเรียนกลับด้านเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมี วิจารณญาณ เรื่อง ดิน หิน แร่ และธรณีกาลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 14(1): 91-99.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ฝ่ายวิชาการโรงเรียนพัฒนานิคม. (2564). เอกสารสรุปฝ่ายวิชาการ. ลพบุรี: โรงเรียนพัฒนานิคม.
พระมหาศักดิ์ดา สิริเมธี (หารเทศ), พระวิเทศพรหมคุณ, พระครูอรุณสุตาลังการ, นิเวศน์ วงศ์สุวรรณ, และอภินันท์ คำหารพล. (2563). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนสาธิตเทศบาลวัดเพชรจริก อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology. 5(9): 35-47.
พัฒนานิคม, อำเภอ. (2542). บรรยายสรุปอำเภอพัฒนานิคม 2542. ลพบุรี: อำเภอพัฒนานิคม.
เมธา อึ่งทอง, ผดุงชัย ภู่พัฒน์, และชิตพล มังคลากุล. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียน กลับด้าน เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาหลักวิชาชีพครู. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยธนบุรี. 12(ฉบับพิเศษ ตุลาคม 2561): 84-96.
ลดาวัลย์ กันธมาลา. (2560). ผลการใช้วิธีการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านที่ส่งเสริม การสร้างความรู้และทักษะการแก้ปัญหา วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ 5 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. Veridian E-Journal Silpakorn University ฉบับภาษาไทย มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 10(2): 2521-2534.
วันเฉลิม อุดมทวี. (2556). การพัฒนาความสามารถการคิดเชิงบูรณาการ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 และ 2 ภูมิศาสตร์ทวีปอเมริกาเหนือและใต้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning) ร่วมกับเทคนิคห้องเรียนกลับทาง (Flipped Classroom). วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วิจารณ์ พานิช. (2556). ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับทาง. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เอส.อาร์. พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์
วีรวิชญ์ บุญส่ง. (2565). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์โดยใช้เทคนิค การศึกษานอกสถานที่ของวิชา สศ 2211302 หลักสูตรและการสอนสังคมศึกษา สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาสังคมศึกษาชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. 8(2): 271-282.
สำนักพัฒนากิจกรรมนักเรียน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). โครงการต้นแบบสหกรณ์โรงเรียน. กรุงเทพฯ: สำนักพัฒนากิจกรรมนักเรียน.
สุกัลยา นิลกระยา. (2557). การพัฒนาสื่อการสอนมัลติมีเดียบนเครือข่ายไร้สาย m-Learning เรื่อง ตรรกศาสตร์ โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านเพื่อส่งเสริมการนำตนเอง. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีการเรียนรู้และสื่อสารมวลชน). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
สุวิทย์ มูลคำ. (2551). การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการคิด. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: อี เค บุ๊ค.
อัจฉรา เชยเชิงวิทย์, และธีรพงษ์ วิริยานนท์. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือผ่านเครือข่ายสังคม. วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 7(1): 163-171.
อิสรา โต๊ะยีโกบ, ปรีชา สามัคคี, และกฤตพร แซ่แง่ สายจันทร์. (2560). รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านสำหรับการปฏิบัติการวิธีการทางภูมิศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 9(1): 109-116.
Bergmann, J., & Sams, A. (2012). Flip your classroom: Reach every student in every class every day. Eugene, OR: International Society for Technology in Education.
_______. (2013). Flip Your Classroom Reach Every Student in Every Class Every Day. America.
Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Test. (5th ed.). New York: Harper Collins.
Kuder, Frederic G., & M. W. Richardson. (1937). The Theory of the Estimation of Test Reliability. Psychometrika. 2(September): 151-160.
Larsen, J. A. (2013). Experiencing a Flipped Mathematics Class. M.S. Thesis, Faculty of Science, Simon Fraser University.
Missildine, K., Fountain, R., Summers, L., & Gosselin, K. (2013). Flipping the Classroom to Improve Student Performance and Satisfaction. Journal of Nursing Education. 52: 597-599.
Flipped Learning Network (FLN). (2014). The Four Pillars of F-L-I-P™. Retrieved 9 March 2022, from www.flippedlearning.org/definition.