การวิจัยเชิงปฏิบัติการการพัฒนาทักษะการอ่านตามแนวทางการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ

Main Article Content

สใบทิพย์ เกษแก้ว
นาฏยาพร บุญเรือง
รชฏ สุวรรณกูฏ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ ตามแนวทางการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (RT) ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และ 2) เปรียบเทียบความสามารถด้านทักษะการอ่าน ตามแนวทาง    การประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (RT) โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ระหว่างก่อนเรียนและ     หลังเรียน กลุ่มเป้าหมายการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านเดื่อ ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) คู่มือการพัฒนาทักษะการอ่าน 3) แบบทดสอบการอ่าน 4) แบบประเมินการอ่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า


            1) การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้การอ่าน พบว่า แผนการจัดการเรียนรู้การอ่าน ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.76/82.00 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ 2) การเปรียบเทียบความสามารถด้านทักษะการอ่าน ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 20.86 คะแนน และหลังเรียนมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 41.00 คะแนน จากคะแนนเต็ม 50 คะแนน และมีคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์หลังจากการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ มีคะแนนพัฒนาการเฉลี่ยร้อยละ 69.78 อยู่ในระดับสูง มีค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) เท่ากับ 0.69 นักเรียนมีคะแนนเพิ่มขึ้นร้อยละ 69

Article Details

How to Cite
เกษแก้ว ส. ., บุญเรือง น. ., & สุวรรณกูฏ ร. . (2023). การวิจัยเชิงปฏิบัติการการพัฒนาทักษะการอ่านตามแนวทางการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 6(2), 245–256. https://doi.org/10.2774.EDU2023.2.261079
บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ. (2544). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับสั่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

การุณันทน์ รัตนแสนวงษ์. (2550). การใช้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้น ส่วนจำกัด วี.เจ.พริ้นติ้ง.

บัญญัติ ครุธพุ่ม. (2550). เอกสารประกอบการสอนแบบบูรณาการ. กรุงเทพฯ: ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนกรุงเทพมหานคร.

พรรณี ลีกิจวัฒนะ. (2554). วิธีการวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

เพ็ญนภา บางหลวง. (2560). การใช้เกมเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนคำพื้นฐานภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การสอนและเทคโนโลยีการเรียนรู้). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ระพีพรรณ เหลือสืบชาติ. (2562). การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน เรื่อง พันธะโคเวเลนต์ และรูปร่างโมเลกุล.วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (เคมี). มหาวิทยาลัยยบูรพา.

วรรณดี สุทธินรากร. (2556). การวิจัยเชิงคุณภาพ: การวิจัยในกระบวนทัศน์ทางเลือก. กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์.

วรรณี โสมประยูร. (2553). เทคนิคการสอนภาษาไทย. กรุงเทพฯ: ยูแพดอินเตอร์.

วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2542). แผนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ: บริษัท แอล ที เพรส จำกัด.

วิโรจน์ ลักขณาอดิศร. (2550). ทฤษฎีการสร้างความรู้ (Constructivism) และการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม (Activity Based Learning: ABL). สืบค้นเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม. 2565, จาก http://www.se-edlearning.com/LinkClick.aspx? fileticket=FenbODYmzcc%3d&tabid =36&mid=350UploadClinic/RFID/A_ReflexRFID.pdf.

วีระยุทธ์ ชาตะกาญจน์. (2558). การวิจัยเชิงปฏิบัติการ. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 2(1): 32.

ศศิธร ลิจันทร์พร. (2556). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมเป็นฐานโดยใช้แอพพลิเคชั่นเพื่อการศึกษาบนอุปกรณ์ สื่อสารเคลื่อนที่เพื่อส่งเสริมความมีวินัยของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต (เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สายสุดา หลังแดง. (2560). ผลการใช้เกมการศึกษาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 1 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 3. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2564). คู่มือการจัดสอบการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (RT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2564. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4. (2564). รายงานผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (Reading Test: RT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2564. ศรีสะเกษ: อัดสำเนา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). รายงานผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (Reading Test: RT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2561. กรุงเทพฯ: จี เอ็น ที.

_______. (2563). รายงานผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (Reading Test: RT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563. กรุงเทพฯ: จี เอ็น ที.

สุขสันต์ สาตาชนม์. (2562). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเว็บแบบเกมการสอนเรื่อง มาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์. (2543). หลักการและวิธีสอนอ่านภาษาไทย. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

สุวิทย์ มูลคำ. (2543). กลยุทธ์การสอนคดิ บูรณาการ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ต้นอ้อ แกรมมี่.

องอาจ นัยพัฒน์. (2548). วิธีวิทยาการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สามลดา.

อทิตยา หอศิลป์. (2562). การพัฒนาแบบสอบวินิจฉัยการแจกลูกสะกดคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏบูรพา.

Kemmis, S., & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planer. (3rd ed.). Victoria: Deakin University.