ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณลักษณะและคุณภาพที่พึงประสงค์ของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณลักษณะและคุณภาพที่พึงประสงค์ของครู 2) ศึกษาคุณลักษณะและคุณภาพที่พึงประสงค์ของครู 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณลักษณะและคุณภาพที่ พึงประสงค์ของครูกับคุณลักษณะและคุณภาพที่พึงประสงค์ของครูและ 4) สร้างสมการพยากรณ์ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณลักษณะและคุณภาพที่พึงประสงค์ของครู กลุ่มตัวอย่างคือ ครูผู้สอนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร จำนวน 313 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณลักษณะและคุณภาพที่ พึงประสงค์ของครู มีค่าความเที่ยงระหว่าง 0.83-0.90 และแบบสอบถามคุณลักษณะและคุณภาพที่พึงประสงค์ของครู มีค่าความเที่ยง 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ เพียร์สันและวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า
1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณลักษณะและคุณภาพที่พึงประสงค์ของครูในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) คุณลักษณะและคุณภาพที่พึงประสงค์ของครูโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับคุณลักษณะและคุณภาพที่ พึงประสงค์ของครูโดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กันทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) สมการพยากรณ์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณลักษณะและคุณภาพที่พึงประสงค์ของครู โดยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน พบว่า ปัจจัยด้านความผูกพันในองค์การ ด้านภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร ด้านแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน และด้านเจตคติต่อวิชาชีพครู ส่งผลต่อคุณลักษณะและคุณภาพที่พึงประสงค์ของครูอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.82 และสามารถพยากรณ์คุณลักษณะและคุณภาพที่พึงประสงค์ของครูได้ร้อยละ 66.50
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ = 0.36X4 + 0.30X2 +0.17X1+ 0.12X3
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรุณา โถชารี. (2560). รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2556. (4 ตุลาคม 2556). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 30 ตอนพิเศษ 130 ง.
เฉลียว บุรีภัคดี. (2556). ทฤษฎี ระบบและการประยุกต์ใช้ในการพัฒนา. เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
ธนนันท์ ทะสุใจ. (2557). ความผูกพันต่อองค์การ : ศึกษากรณีข้าราชการธุรการในสังกัดสำนักศาลยุติธรรม ประจำภาค 5. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์). มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต.
นิลุพัฒน์ จิตรสง่าวงค์. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาแรงจูงใจใน การปฏิบัติงานของครูกับประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยบูรพา.
ประพิศ กุลบุตร. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาตนเองตามจรรยาบรรณวิชาชีพครูในโรงเรียนสังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนจังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยทักษิณ.
ภูมิพิพัฒน์ รักพรมงคล. (2563). แนวคิดทฤษฎีหลักการบริหารการศึกษา. กำแพงเพชร: เกรียงไกรพานิช.
รจนารถ เจียมบรรจง. (2558). ปัจจัยระดับบุคคลที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาของครูสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดนครนายก. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
รัตนา ฟูมั่น. (2559). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการพัฒนาตนเองของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 38. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
รินดา พูลสว่าง. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิภาพการสอนของครูในสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 3 นนทบุรี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยบูรพา.
วรวรรณ บำรุงชน. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยบูรพา.
วุฒิ อิสระกุล. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทราเขต 1. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
วิรัตน์ ผดุงชีพ, และวาสนา จินดาสวัสดิ์. (2561). คู่มือเตรียมสอบครูผู้ช่วยวิชาเอกสังคม (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
วิลิศ สกุลรัตน์. (2555). การปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพของครูในโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 จังหวัดจันทบุรี. การค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร. (2564). ข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษาประจำปีการศึกษา 2564. กำแพงเพชร: ผู้แต่ง.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2564). มาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
สุนิสา ภู่เงิน. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยบูรพา.
อรพรรณ คำมา. (2559). การใช้อำนาจของผู้บริหารที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยบูรพา.
อเนก คำไชยหาญ.(2560). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูด้านการปฏิบัติงาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 21. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size of research activities. Education and Psychological Measurement, 30(3): 608-609.