ผลของโปรแกรมการกำกับตนเองในการออกกำลังกายด้วยทักษะมวยไทยต่อการพัฒนาสมรรถภาพทางกายของประชาชนที่ไม่ออกกำลังกายเป็นประจำ

Main Article Content

ทนงศักดิ์ ทองศรีสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบสมรรถภาพทางกาย ระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการกำกับตนเองในการออกกำลังกายด้วยทักษะมวยไทย และกลุ่มควบคุมที่ใช้ชีวิตตามปกติ และ 2) เพื่อเปรียบเทียบสมรรถภาพ       ทางกายของกลุ่มทดลอง ระหว่างก่อนและหลังการได้รับโปรแกรมการกำกับตนเองในการออกกำลังกายด้วยทักษะมวยไทย        เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ประชาชนในชุมชนเมืองน้อยเหนือและเมืองน้อยใต้ ที่มีพฤติกรรม   ไม่ออกกำลังกายเป็นประจำ จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ โปรแกรมการกำกับตนเองในการออกกำลังกายด้วยทักษะ        มวยไทย และแบบทดสอบสมรรถภาพทางกาย สถิตที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานทางสถิติ โดยใช้สถิติทดสอบ Independent sample t-test และ Paired-samples t-test ผลการวิจัยพบว่า


            1) ภายหลังได้รับโปรแกรมการกำกับตนเองในการออกกำลังกายด้วยทักษะมวยไทย กลุ่มทดลองมีสมรรถภาพ     ทางกายทุกด้านดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 2) ภายหลังการได้รับโปรแกรมการกำกับตนเองในการออกกำลังกายด้วยทักษะมวยไทย กลุ่มทดลองมีสมรรถภาพทางกายดีกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการกำกับตนเองในการออกกำลังกายด้วยทักษะมวยไทยสามารถควบคุมพฤติกรรมของประชาชนที่ไม่ออกกำลังกายเป็นประจำ ให้มีวินัยในการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจนสามารถพัฒนาสมรรถภาพทางกายให้ดีขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

How to Cite
ทองศรีสุข ท. (2023). ผลของโปรแกรมการกำกับตนเองในการออกกำลังกายด้วยทักษะมวยไทยต่อการพัฒนาสมรรถภาพทางกายของประชาชนที่ไม่ออกกำลังกายเป็นประจำ. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 6(2), 83–93. https://doi.org/10.2774.EDU2023.2.260289
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). แบบทดสอบและเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายของประชาชน อายุ 19-59 ปี. สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2565, จาก https://www.dpe.go.th.

เกวรีน สุขมี, สุรสา โค้งประเสริฐ, และรุจน์ เลาหภักดี. (2562). ผลของการออกกำลังกายด้วยมวยไทยที่มีต่อความสามารถในการทรงตัวและความอ่อนตัวในผู้สูงอายุไทย. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ, 21(3): 432-445.

ชยุต ทะระพงษ์, ปรียาภรณ์ ธนะพงศ์วิศาล, พงศ์พันธ์ วิเชียรวรรณ์, รัตนาภรณ์ นามวงษ์, ทวีวัฒน์ เวียงคํา, และวีระพงษ์ ชิดนอก. (2562). ผลการฝึกมวยไทยต่อการระบายอากาศสูงสุดของผู้ที่มีภาวะอ้วน. วารสารวิทยาศาสตร์การ กีฬาและสุขภาพ, 20(1): 88-98.

ชัยสวัสดิ์ เทียนวิบูลย์. (2557). มวยไทยชัยสวัสดิ์. กรุงเทพฯ: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด.

ญาตา แก่นเผือก, สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ, และวรรณิภา อัศวชัยสุวิกรม. (2557). ผลลัพธ์ของการกำกับตนเองในการรับประทานอาหารและการเดินเร็วเพื่อควบคุมน้ำหนักของหญิงที่มีน้ำหนักเกิน. วารสารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยบูรพา, 9(1), 104-116.

ณัฐชนน ผุยนวล, นิสากร กรุงไกรเพชร, และสมสมัย รัตนกรีฑากุล. (2561). ผลของโปรแกรมการกำกับตนเองด้านการออกกำลังกายด้วยวิธีรำวงย้อนยุคต่อระดับน้ำตาลในเลือดและสมรรถภาพทางกายในกลุ่มผู้เสี่ยงสูงโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 26(3): 42-51.

ต่อศักดิ์ แก้วจรัสวิไล. (2559). การสร้างรูปแบบการออกกำลังกายด้วยศิลปะมวยไทยโบราณสำหรับเยาวชน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 39(2): 77-86.

ทวีทรัพย์ มาละอินทร์, สำราญ กำจัดภัย, และภูมิพงศ์ จอมหงษ์พิพัฒน์. (2556). การเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โดยใช้โปรแกรมการกำกับตนเอง โรงเรียนบ้านวังเวิน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 3(1): 35-42.

พนิดา ชูเวช, และปริวัตร ปาโส. (2564). ผลการกายบริหารด้วยการรำไหว้ครูมวยไทยและการใช้ท่ามวยไทยต่อสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุ. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ, 6(3): 479-494.

ภาฤดี พันธุ์พรม, ยุวดี รอดจากภัย, และกมลมาลย์ วิรัตน์เศรษฐสิน. (2560). ผลของโปรแกรมควบคุมน้ำหนักโดยประยุกต์แนวคิดการกำกับตนเองต่อดัชนีมวลกายของประชาชนที่มีน้ำหนักเกินในอำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 31(1): 44-59.

รัตนาพร กองพลพรหม, และชัยรัตน์ ชูสกุล. (2562). การศึกษานำร่องโปรแกรมการพัฒนาสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตด้วยการกำกับตนเอง สำหรับนักศึกษาสถาบันการพลศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 21(4): 271-284.

สมชาย ลี่ทองอิน. (2562). คู่มือการทดสอบสมรรถภาพทางกาย (Physical Fitness Testing) สำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2556, จาก https://bit.ly/3iMo1ZQ.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2557). ออกกำลังกายอย่างไรดี ?. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2556, จาก https://shorturl.asia/n0wFr.

สำนักงานคณะกรรมการกีฬามวย. (2564). คุณค่าและประโยชน์ของมวยไทย. สืบค้นเมื่อ 28 ธันวาคม 2565, จาก https://muaythai.world/boxing_website/boxingathlete.

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2540). ศิลปะมวยไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ครุสภา.

สำราญ สุขแสวง. (2563). การพัฒนารูปแบบการออกกำลังกายด้วยศิลปะมวยไทยเชิงมวยที่มีผลต่อสมรรถภาพทางกายสำหรับผู้สูงอายุในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเขาผึ้ง ตำบลปากช่อง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(2): 122-138.

อรวรรณ คงเพียรธรรม, สมสมัย รัตนกรีฑากุล, และชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ. (2559). ผลของโปรแกรมการกำกับตนเองต่อ การออกกำลังกายด้วยห่วงฮูลาฮูป การควบคุมอาหาร และเส้นรอบเอวของอาสาสมัครสาธารณสุขที่มีภาวะอ้วนลงพุง. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 24(4): 77-88.

อัลเลียตส์ บือแนดามา, รายาศิต เต็งกูสุลัยมาน, และก้องเกียรติ เชยชม. (2564). การเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบของร่างกายด้วยโปรแกรมการฝึกมวยไทยในประชาชนหญิงอายุ 20-35 ปี.วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 10(2): 488-498.

Bandura, A. (1986). Social foundation of thought and action. New Jersey: Prentice-Hall.

Gabriele, O. (2015). Self-regulation of time management: Mental contrasting with implementation intentions. New York: New York University.

Kanfer, F. H., & Gaelick, L. (1991). Self-management method. In F. H. Kanfer, & A. P. Goldstein (Eds.), Helping people change. New York: Pergamon.

Munro, B. H. (2001). Statistical Methods for Health Care Research. Measurement, design and analysis: An integrate, Lawrence Erlbaum Association.