การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา สำหรับนักศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาคุณภาพหลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา สำหรับนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง 2) เพื่อทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง จัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ด้วยการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การเปรียบเทียบทักษะการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา และประเมินความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 25 คน ได้มาโดย การสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบประเมินคุณภาพของหลักสูตรฝึกอบรม มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการฝึกอบรม มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.67-1.00 ค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.20-0.70 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.22-0.77 ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบเท่ากับ 0.93 3) แบบวัดทักษะการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษามีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรม ค่าความเชื่อมั่นแบบประเมินความพึงพอใจเท่ากับ 0.97 ใช้แบบแผนการวิจัยแบบศึกษากลุ่มเดียววัดเฉพาะหลังการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า
1) หลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา สำหรับนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) หลักการและเหตุผล (2) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
(3) เนื้อหาของหลักสูตร (4) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และ (5) การวัดและประเมินผล ผลการตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่าหลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษามีความเหมาะสมในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) การทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา หลังได้รับการฝึกอบรมด้วยหลักสูตรฝึกอบรมสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทักษะการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาของนักศึกษาหลังได้รับการฝึกอบรมด้วยหลักสูตรฝึกอบรม สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 และนักศึกษามีความพึงพอใจต่อหลักสูตรฝึกอบรมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กชกร พิเดช. (2559). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเรื่องคอมพิวเตอร์พื้นฐานเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านคอมพิวเตอร์สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. (2562, มีนาคม 20). ราชกิจจานุเบกษา. 136(68ง), 18-20.
ณิชากร นิธิวุฒิภาคย์, วาโร เพ็งสวัสดิ์, และทนงศักดิ์ คุ้มไข่น้ำ. (2560). การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานของครูสอนวิชาภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 11(3): 37-51.
ทวีป อภิสิทธิ์. (2551). เทคนิคการเป็นวิทยากรและนักฝึกอบรม. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นันทกาญจน์ ชินประหัษฐ์. (2553). การพัฒนาและทดลองใช้โปรแกรมการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมการคิดไตร่ตรองของนิสิตครูระหว่างฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู. วารสารครุศาสตร์. 39(2): 85–103.
นิรันดร์ จุลทรัพย์. (2547). กลุ่มสัมพันธ์สำหรับการฝึกอบรม. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.
บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2553). การพัฒนาหลักสูตร Curriculum Development. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เพชรปาณี อินทรพาณิชย์, สำราญ กำจัดภัย, และสมพร หลิมเจริญ. (2560). การพัฒนาหลักสูตรเสริมเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลสกลนคร. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม. 7(1): 99-108.
ไพโรจน์ เนียมนาค. (2554). เทคนิคการสัมมนาและการฝึกอบรม. กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
ยงยุทธ เกษสาคร. (2551). ภาวะผู้นำและการทำงานเป็นทีม. (พิมพ์ครั้งที่่ 6). กรุงเทพฯ: ปัณณรัชต์.
รสริน พิมลบรรยงก์. (2550). ระบบการสอนและการฝึกอบรม: การออกแบบ การพัฒนาและการนําไปใช้. ศูนย์เอกสารและตํารา. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
วัลลภ พัฒนพงศ์. (2554). การสร้างหลักสูตรฝึกอบรมนักพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมสมรรถนะอาชีพ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
วีรภัทร ไม้ไหว. (2560). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 4(2): 1-9.
สมชาย แก้วประกอบ. (2553). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้และความพึงพอใจที่มีต่อกระบวนการ การจัด การเรียนรู้ของผู้เรียนเรื่องความสมดุลของนักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 6 ระหว่างการสอนของเบอร์ไนซ์ แมคคาร์ธี 4 แม็ทกับการสอนโดยใช้แนวคิดวิธีการสอนของเจอโรม บรูเนอร์. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (ศิลปศึกษา). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สมพิศ ลาสอน. (2555). การศึกษากระบวนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 โดยการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พระนครศรีอยุธยา เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
สำนักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2553). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สุจิตรา ธนานันท์. (2552). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
เสาวภา ปัญจอริยกุล. (2562). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเรื่อง การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ. 9(2): 33-48.
Adams, G. S. (1964). Measurement and Evaluation in Educational Psychology and Guidance. New York: Holt Rinehart and Winston.
Beach, D. S. (1980). Personnel: The Management of People at Work. (4th ed). New York: Macmillan Publishing Co., Inc.
Saylor, J. G., & Alexander, W. M. (1974). Planning Curriculum for Schools. New York: Holt Rinehart and Winston.
Scott, M. M. (1970). Every Employer a Manager: More Meaningful Work through Job Environment. New York: McGraw-Hill Book Company.
Taba, H. (1962). Curriculum Development: Theory Practice. New York: McMillan.
Tyler, R. W. (1971). Basic Principles of Curriculum and Instruction. Chicago: University of Chicago Press.