Situational Leadership Roles of School Administrators in Small Schools Under Nakhon Sawan Primary Educational Service Area Office 1
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพปัจจุบันเกี่ยวกับบทบาทภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1 และ 2. ศึกษาแนวทางการบริหารสถานศึกษาแบบภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต 1 จำนวน 92 คน โดยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน และเลือกตัวอย่างตามโอกาสทางสถิติ ด้วยเทคนิควิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ได้ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.39 - 0.76 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
1) สภาพปัจจุบันเกี่ยวกับบทบาทภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) แนวทางการบริหารสถานศึกษาแบบภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย 4 แบบคือ 1) ด้านผู้นำแบบสั่งการ พบว่า ผู้บริหารสามารถพัฒนาสมรรถภาพในการวิเคราะห์และเลือกใช้วิธีการที่เหมาะสมกับสถานการณ์ 2) ด้านผู้นำแบบสนับสนุน พบว่า ผู้บริหารควรเปิดโอกาสให้ซักถามเพื่อความกระจ่างแจ้งในการปฏิบัติงาน 3) ด้านผู้นำแบบการมีส่วนร่วม พบว่า ผู้บริหารควรมีการประชุมและปรึกษาหารือกับผู้ใต้บังคับบัญชาอยู่เสมอ และ 4) ด้านผู้นำแบบมุ่งความสำเร็จ พบว่า ผู้บริหารมีการเน้นในการจัดรูปแบบและจัดทำแผนการปฏิบัติงานอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงแรงงาน. (2564). ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal). สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.tosh.or.th/covid-19/index.php/new-normal.
ธนะชัย เชาว์พลกรัง. (2564). แบบภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมาเขต 4. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 34(1-2): 61-69.
บัญชา บุญบำรุง. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสถานการณ์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการครู โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
เพ็ญนภา ศรีแปลก. (2563). การศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัย ราชภัฏรำไพพรรณี.
มูลนิธิคีนันแห่งเอเชีย. (2563). ผลกระทบจากโควิด 19 ด้านการศึกษา. สืบค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.kenan-asia.org/th/covid-19-education-impact.
สุวิมล มธุรส. (2564). การจัดการศึกษาในระบบออนไลน์ในยุค NEW NORMAL COVID-19. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(40): 33 - 42.
Fiedler, F. E., & Gracia, J. E. (1987). New Approaches to Effectiveness Leadership. New York: Wilye.
Hersey, P., & Blanchard, H. B. (1988). Management of Organizational Behavior: Utilizing Human Resources. Englewood. Boston: PWS-Kent.
House, J. Robert. (1971). A part goal theory of effectiveness. Administrative Science Quarterly.
Ouchi, William G. (1981). Theory Z: How American Business Can Meet the Japanese Challenge. Mass: Addison-Wesley.
Reddin, W. J. (1970). Managerial effectiveness. New York: McGraw-Hill.