การพัฒนาสมรรถนะตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

Main Article Content

รัตนศักดิ์ ทรัพย์เจริญ

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสมรรถนะตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เพื่อให้ผู้บริหารโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมีการบริหารงานโดยยึดหลักการบริหารตามหลักพรหมวิหาร 4 และสมรรถนะของผู้บริหาร โดยการสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยเกี่ยวข้อง ได้แก่ 1) ยุทธศาสตร์การพัฒนาข้าราชการ     พลเรือน พ.ศ. 2552 - 2556 2) แนวคิดเกี่ยวกับการบริหาร 3) แนวคิดการบริหารจัดการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล    4) แนวคิดเกี่ยวกับสมรรถนะของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 5) แนวคิดเกี่ยวกับหลักการบริหารตาม     หลักพรหมวิหาร 4 ผลการศึกษาพบว่า


การพัฒนาสมรรถนะตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ซึ่งประกอบด้วยสมรรถนะ ทั้ง 10 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านภาวะผู้นำ 2) ด้านการสื่อสารจูงใจ 3) ด้านการประสานงาน 4) ด้านการทำงานเป็นทีม   5) ด้านการวางแผนกลยุทธ์ 6) ด้านการคิดในเชิงวิเคราะห์ 7) ด้านการบริการที่ดี 8) ด้านการทำงานชุมชนเชิงรุก 9) ด้านการมีส่วนร่วมกับชุมชน และ 10) ด้านการใช้เทคโนโลยีและสารสนเทศ ผลการศึกษาในครั้งนี้สามารถนำมาวิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะของผู้บริหารโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้สูงขึ้นกระทรวงสาธารณสุขนำองค์ประกอบสมรรถนะที่ได้จากการศึกษาไปใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลโดยยึดสมรรถนะเป็นหลักเริ่มจากการวางแผนกำลังคน การสรรหาและเลือกสรร การประเมินผลการปฏิบัติงานและค่าตอบแทน การฝึกอบรมและพัฒนาบุคคลและการวางแผนความก้าวหน้า ในอาชีพ และเป็นประโยชน์ต่อสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โดยสามารถนำรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะไปปรับใช้กับบุคลากรสาธารณสุขของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และขยายผลเชิงการบริหาร หรือนำผลการวิจัยไปพัฒนาหลักสูตรให้เหมาะสมกับการทำงานของบุคลากรเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนต่อไป

Article Details

How to Cite
ทรัพย์เจริญ ร. . (2022). การพัฒนาสมรรถนะตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 5(3), 49–58. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edunsrujo/article/view/256800
บท
Academic article

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2564). แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564 ที่ 12. นนทบุรี: ผู้แต่ง.

ปิยะธิดา ทองอร่าม. (2552). การพัฒนาระบบการประเมินการปฏิบัติงานสาหรับอาจารย์มหาวิทยาลัยเอกชนตามแนวคิดของการประเมินแบบอิงมาตรฐาน และการให้ผลตอบแทนตามสมรรถนะ. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต (บริหารการศึกษา). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระเทพโสภณ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต), และเสถียรพงษ์ วรรณปก. (2546). มณีแห่งปัญญา: หนังสือคู่มือสำหรับนักบริหาร. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.

สถาบันวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน. (2563). กรอบระบบคุณภาพของเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ ฉบับปฐมบท.กรุงเทพฯ: อุษาการพิมพ์.

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช, (เจริญ สุวฑฺฒโน). (2543). รวมธรรมะ. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

________. (2551). อำนาจอันยิ่งใหญ่แห่งกรรม. กรุงเทพฯ: รุ่งเรืองวิริยะพัฒนาโรงพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2548). การปรับใช้สมรรถนะในการบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. (2564). รายงานฉบับสมบูรณ์แผนยุทธศาสตร์ทศวรรษการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (พ.ศ.2555 - 2564). กรุงเทพฯ: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2564). คู่มือปฏิบัติงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น หรือพื้นที่ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2557). กรุงเทพฯ: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

สุจิตรา ธนานันท์. (2554). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์: Human Resource Development. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: ทีพีเอ็น เพรส.

อลงกรณ์ มีสุทธา, และ สุมิตร สัชฌุกร. (2551). การประเมินผลการปฏิบัติงาน การประเมินโดยใช้ Competency. (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).

McClelland, D. (1973). Testing for Competency Rather than for Intelligence. American Psychologist, 28(1): 1 - 14.

Mirabile, R. J. (1985). A model for competency-based career development. Personnel, 62(4): 30 - 38.

Spencer, L. M., & Spencer, P. S. M. (2008). Competence at Work models for superior performance. New Jersey: John Wiley & Sons.