การศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 1

Main Article Content

อำนาจ เปาจีน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูจำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน และขนาดของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ครู จำนวน 217 คน กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน และทำการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถามแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู ที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างเป็นอิสระต่อกัน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบความแตกต่างแบบรายคู่โดยใช้วิธีของเชฟเฟ่


               ผลการวิจัยพบว่า


  1. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู ด้านปัจจัยจูงใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}= 4.08, S.D. = 0.46) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านที่มีแรงจูงใจสูงสุด 3 ลำดับแรก คือ ความรับผิดชอบ (gif.latex?\bar{X} = 4.29, S.D. = 0.54) รองลงมาคือ ความสำเร็จในการทำงาน (gif.latex?\bar{X} = 4.21, S.D. = 0.46) และการยอมรับนับถือ (gif.latex?\bar{X} = 4.17, S.D. = 0.56) ส่วนด้านปัจจัยค้ำจุน พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X} = 4.17, S.D. = 0.44) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านที่มีแรงจูงใจสูงสุดสุด 3 ลำดับแรก คือ ความมั่นคงในงาน (gif.latex?\bar{X} = 4.59, S.D. = 0.52) รองลงมาคือ สถานะทางอาชีพ (gif.latex?\bar{X} = 4.56, S.D. = 0.56) และความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (gif.latex?\bar{X} = 4.27, S.D. = 0.67)

          2. การเปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน จำแนกตามเพศและประสบการณ์ทำงานมีระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกัน เมื่อจำแนกตามระดับการศึกษาและขนาดของโรงเรียนพบว่า มีระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ พบว่า ครูที่มีระดับการศึกษาปริญญาเอกมีระดับแรงจูงใจสูงกว่าศึกษาปริญญาตรี ส่วนครูที่อยู่ในโรงเรียนที่มีนักเรียน 601 - 1,500 คน มีระดับแรงจูงใจสูงกว่าโรงเรียนที่มีนักเรียน 1 - 120 คน

Article Details

How to Cite
เปาจีน อ. (2022). การศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 1. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 5(1), 67–76. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edunsrujo/article/view/254679
บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ อุ่นเรือน. (2556). การศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนอำเภอบ้านไร่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2. ค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

จีราภรณ์ พรมสวัสดิ์. (2559). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในศูนย์เครือข่ายสถานศึกษาคลองใหญ่เหนือ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ณัฐดนัย ไทยถาวร. (2561). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนระดับประถมศึกษาจังหวัดสระบุรี. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

บุญกาล ภูด่านงัว.(2554). การศึกษาแรงจูงใจการปฏิบัติงานของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดมหาสารคาม. การศึกษาค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต(นโยบายสาธารณะ). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พจนา ผดุงเศรษฐกิจ. (2562). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1. สารนิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. (2542, 19 สิงหาคม).ราชกิจานุเบกษา. เล่ม 116 ตอนที่ 74ก. น. 3-16.

พระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหนงข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547. (2547, 23 ธันวาคม).ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 121 ตอนพิเศษ 79ก. น. 75-76.

พะเยีย ประภากรณ์กุล. (2556). การศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในโรงเรียน สังกัดเทศบาลนครนครสวรรค์. ค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ลัดดา พันชนัง. (2559). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในอำเภอเมืองจันทบุรีสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (สาขาการบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยบูรพา.

สหกรณ์ออมทรัพย์ครูอุทัยธานี จำกัด.(2563). รายงานกิจการสหกรณ์ออมทรัพย์ครูอุทัยธานี จำกัด ประจำปีบัญชี 2563, อุทัยธานี : ผู้แต่ง.

สุกัญญา จันทรมณี (2559). แรงจูงใจและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานบริษัท ฮานาเซมิคอนดักเตอร์ (อยุธยา) จำกัด. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพฯ.

สุชาดา สุขบำรุงศิลป์. (2553). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนวิศวกรรมแหลมฉบังจังหวัดชลบุรี. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยบูรพา,ชลบุรี.

สุณิภา ชูเมือง. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจของผู้บริหารกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในจังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

มัธยมศึกษา เขต 17. งานนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 1. (2563). รายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2563. อุทัยธานี : สำนักงานฯ.