ผลการจัดการเรียนรู้วิชาภูมิศาสตร์ โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

ณัฏฐ์วัฒน์ อนันตะสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภูมิศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียนและหลังเรียน ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์  2)เพื่อศึกษาความก้าวหน้าของผลการเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 จำนวน 40 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1)แผนการจัดการเรียนรู้ วิชาภูมิศาสตร์ โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ ด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภูมิศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ และทดสอบค่าทีผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยเทคนิคจิ๊กซอว์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภูมิศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .052) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยเทคนิคจิ๊กซอว์ มีร้อยละความก้าวหน้าของผลการเรียนวิชาภูมิศาสตร์ สูงกว่าเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 34.40

Article Details

How to Cite
อนันตะสุข ณ. . (2021). ผลการจัดการเรียนรู้วิชาภูมิศาสตร์ โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 4(1), 81–89. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edunsrujo/article/view/253820
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางสาระภูมิศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560)กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และแนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้.กรุงเทพฯ:ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.
ณัฏฐ์วัฒน์ อนันตะสุข.(2558).การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิกซอว์ 2 ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาประวัติศาสตร์และความสามารถในการทำงานร่วมกันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน).มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
ทิศนา แขมมณี. (2551). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 7).กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
________. (2559). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.(พิมพ์ครั้งที่ 7ฉบับพิมพ์เพิ่มเติม).กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมพร โยวะบุตร. (2550). ผลการจัดการเรียนแบบร่วมมือแบบจิกซอว์และแผนที่ความคิดในวิชา สังคมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน).มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
Johnson, D. W., & Johnson, R.T.(1994). The Nuts and Bolts of Cooperative Learning. Minnesota:Interaction Book Company.