A การสังเคราะห์องค์ประกอบและแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำครูในยุคการศึกษา 4.0

Main Article Content

ยงยุทธ ยะบุญธง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์และตรวจสอบองค์ประกอบภาวะผู้นำครูในยุคการศึกษา 4.0  และ 2) จัดทำและตรวจสอบแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำครูในยุคการศึกษา 4.0 แบ่งการวิจัยออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ 1) การสังเคราะห์และตรวจสอบองค์ประกอบของภาวะผู้นำครูในยุคการศึกษา 4.0 และ 2) การจัดทำและตรวจสอบแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำครูในยุคการศึกษา 4.0 แหล่งข้อมูลและผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วย 1) งานวิจัยและบทความวิชาการเกี่ยวกับภาวะผู้นำครูในยุคการศึกษา 4.0 2) ผู้เชี่ยวชาญ จากการเลือกแบบเจาะจง รวม 17 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แบบบันทึกการสังเคราะห์ 2) แบบตรวจสอบความสอดคล้องขององค์ประกอบภาวะผู้นำครูยุคการศึกษา 4.0 กับนิยามศัพท์เฉพาะ 3) แบบสัมภาษณ์ และ 4) แบบตรวจสอบร่างแนวทาง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความสอดคล้อง (IOC) และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา


            ผลการวิจัย พบว่า ภาวะผู้นำครูในยุคการศึกษา 4.0 มี  5 องค์ประกอบ คือ 1) การส่งเสริมผู้เรียนให้ผลิตนวัตกรรม 2) การทำงานเป็นทีม 3) การพัฒนาผู้เรียนให้เกิดทักษะในศตวรรษที่ 21 4) ความสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และ 5) ความสามารถบูรณาการจัดการเรียนการสอน ผลการตรวจสอบ พบว่า ทุกองค์ประกอบ มีค่าความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.8 - 1.0 ในส่วนแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำครูในยุคการศึกษา 4.0 มีองค์ประกอบ ดังนี้ 1) หลักการ/แนวคิด 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการพัฒนา แบ่งเป็น 5 ส่วน คือ 3.1) การศึกษาความต้องการจำเป็น 3.2) การวางแผนการพัฒนา 3.3) การดำเนินการพัฒนาและการติดตามประเมินผล 3.4) การปรับปรุง แก้ไขและพัฒนา 3.5) การรายงานผล และ 4) เงื่อนไขความสำเร็จ ผลการตรวจสอบแนวทางฯ พบว่า องค์ประกอบทั้ง 4 มีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด


 

Article Details

How to Cite
ยะบุญธง ย. . (2022). A การสังเคราะห์องค์ประกอบและแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำครูในยุคการศึกษา 4.0. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 5(1), 45–56. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edunsrujo/article/view/250682
บท
บทความวิจัย

References

กมล รอดคล้าย (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวาน กราฟฟิค จำกัด.

ดิเรก พรสีมา. (14 พฤษจิกายน 2559). ครูไทย 4.0. หนังสือพิมพ์มติชน.

เชษฐา ทองยิ่ง. (2559). ปัญหาครู : ปัญหาที่รอการปฏิรูป. Hot Issue สำนักวิชาการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

ณัฎฐา ถมปัทม์. (2561) เป็น "ครู" ยุค 4.0 ทำอย่างไร??. สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2561, จาก https://www.komchadluek.net/news/edu-health/309150

ประภาดา คนคล่อง วัฒนา สุวรรณไตรย์ ธวัชชัย ไพไหล และสุรัตน์ ดวงชาชม. (2560). การพัฒนาภาวะผู้นำครูเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 :กรณีโรงเรียนอนุบาลคำชะอี้. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 17(2), 563-572.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). สถานการณ์ แนวโน้มในการพัฒนาประเทศ. ยุทธศาสตร์ชาติ (ฉบับย่อ) พ.ศ. 2561-2580.

ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์. (9 กันยายน 2560) . ครูยุคใหม่...สร้างเด็กไทย 4.0. กระทรวงศึกษาธิการ. สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2561, จาก http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID =49634&Key=news_act

พงษ์ศักดิ์ ศิริวงศ์ อนุศักดิ์ เกตุสิริ และอัศวฤทธิ์ อุทัยรัตน์. (2560). การพัฒนาบุคลากรเพื่อส่งเสริมการน าเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารมาใช้ในการจัดการเรียนรู้. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 17(2), 103-110.

โพยม จันทร์น้อย. (12 มีนาคม 2560). การศึกษา 4.0. MGR Online, สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2562, จาก http://www.kroobannok.com/8149.

สมศักดิ์ ประสาร. (25 มกราคม 2561). เป็น 'ครู' ยุค 4.0 ทำอย่างไร. จิตอาสาพลังแผ่นดิน. สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 256, จาก https://www.thaihealth.or.th/Content/40479

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580. สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. กรุงเทพฯ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

พิณสุดา สิริธรังศรี. (2557). การยกระดับคุณภาพครูไทยในศตวรรษที่ 21. สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน

ศิริลักษณ์ ชมพูคำ. (2561). เป็น "ครู" ยุค 4.0 ทำอย่างไร??. สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2561, จาก https://www.komchadluek.net/news/edu-health/309150