ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการกับการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ ทางวิชาชีพของโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสหวิทยาเขต 4 ศรีสำโรง

Main Article Content

ชาญวิทย์ ฉัตรทอง

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็กสังกัด สหวิทยาเขต 4 ศรีสำโรง (2) ศึกษาการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสหวิทยาเขต 4 ศรีสำโรง และ  (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารวิชาการกับชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสหวิทยาเขต 4 ศรีสำโรง


การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากร ได้แก่ บุคลากรโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสหวิทยาเขต 4 ศรีสำโรงจำนวน 178 คน  กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน ได้จำนวน 124  คน และใช้วิธีสุ่มแบบชั้นภูมิ  วิธีดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอนได้แก่ (1) ศึกษาเอกสารแนวคิดทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  (2) สร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย (3) เก็บรวบรวมข้อมูล และ (4) การวิเคราะห์ข้อมูล  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนปะมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน


    ผลการวิจัย พบว่า (1) การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสหวิทยาเขต 4 ศรีสำโรง อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสหวิทยาเขต 4       ศรีสำโรงมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน (2) การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสหวิทยาเขต  4   ศรีสำโรง อยู่ในระดับมากที่สุด  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสหวิทยาเขต 4 ศรีสำโรง อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน (3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารวิชาการกับการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสหวิทยาเขต 4 ศรีสำโรง           มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีความสัมพันธ์กันในทางบวก

Article Details

How to Cite
ฉัตรทอง ช. . (2022). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการกับการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ ทางวิชาชีพของโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสหวิทยาเขต 4 ศรีสำโรง . วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 5(1), 21–31. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edunsrujo/article/view/250613
บท
บทความวิจัย

References

กรองกาญจน์ นาแพร่. (2560). การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษาของรัฐจังหวัดสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์.หลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

ทิพวรรณ วงษาลาภ. (2558).การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารในโรงเรียนโสตศึกษาตามความคิดเห็นของครูผู้สอนภาคกลางสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ.หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา : มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

นิลวรรณ วัฒนา. (2556).การศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดชลบุรี. สารนิพนธ์กศ.ม.(การบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ:บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ไพลิน บุญมา. (2559). ลักษณะความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี.วิทยานิพนธ์.หลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

พรรษมน พินทุสมิต (2560). การปฏิบัติงานด้านการบริหารวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษาในจังหวัดปทุมธานี. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม: มหาวิทยาเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

Hord, S.M. (1997). Professional Learning Community: communities of continuous inquiry and improvememt. Austin, TX : Southwest Educational Decelopment laboratory.