การศึกษาปัญหาการบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์

Main Article Content

จีระศักดิ์ อบอาย

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัญหาการบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน จำแนกตามเพศ ตำแหน่ง และประสบการณ์ทำงานในตำแหน่ง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้มาจากตารางเครจซี่และมอร์แกน จำนวน 327 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามปัญหาการบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ที่มีค่าความเที่ยง 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐาน โดยการทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและทดสอบรายคู่ตามวิธีการของเชฟเฟ่


               ผลการศึกษาพบว่า


  1. ปัญหาการบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ทั้ง 6 ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.48) เมื่อเรียงลำดับเป็นรายด้าน จากค่าเฉลี่ยสูงสุดไปหาต่ำสุด คือ ด้านหลักความเป็นอิสระในการบริหารจัดการ ( = 3.84) ด้านหลักความเป็นมืออาชีพ ( = 3.59) ด้านหลักความเป็นกลางทางการเมือง ( = 3.55) ด้านหลักการตรวจสอบและถ่วงดุล ( = 3.41) ด้านหลักการมีส่วนร่วม ( = 3.31) และด้านหลักการนิติบัญญัติ ( = 3.18) ตามลำดับ

  2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีต่อปัญหาการบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน จำแนกตามเพศ ตำแหน่ง และประสบการณ์ทำงานในตำแหน่ง พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีเพศแตกต่างกัน มีความคิดเห็น โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน และผู้ตอบแบบสอบถามที่มีตำแหน่งแตกต่างกัน        มีความคิดเห็น โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อทำการทดสอบรายคู่ตามวิธีการของเชฟเฟ่ พบว่า ครูกับผู้บริหาร และครูกับคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความแตกต่างกัน และผู้ตอบแบบสอบถามที่มีประสบการณ์ทำงานในตำแหน่งแตกต่างกัน มีความคิดเห็นโดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อทำการทดสอบรายคู่ตามวิธีการของเชฟเฟ่ พบว่า ประสบการณ์ทำงานในตำแหน่งน้อยกว่า 5 ปี กับ 5 ปี–10 ปี และ น้อยกว่า 5 ปี กับ 10 ปี  ขึ้นไป และ 5 ปี–10 ปี กับ 10 ปี ขึ้นไป มีความแตกต่างกัน

Article Details

How to Cite
อบอาย จ. (2021). การศึกษาปัญหาการบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 4(2), 89–99. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edunsrujo/article/view/250040
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ตามกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
______. (2556). คู่มือการบริหารโรงเรียน ในโครงการพัฒนาการบริหารรูปแบบนิติบุคคล. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
______. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
______. (2562). คู่มือการดำเนินงานของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
กัญญาณัฐ ฤทธิ์บำรุง. (2559). แนวทางการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของสถานศึกษาในสหวิทยาเขตอัจฉราลัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
จิรัสสา ไสยแก้ว. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานกับคุณภาพของผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
ชญาภา ศรีเหลือง. (2560). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของผู้บริหารโรงเรียนกลุ่มบางละมุง 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยบูรพา.
ถิรวัฒน์ คุ้มทอง. (2560). แนวทางการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนในศูนย์ประสานงานสถานศึกษาบางมูลนาก 01 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
แพรพิมพา มงคลสวัสดิ์. (2557). ปัญหาและแนวทางแก้ไขการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนในสังกัดเทศบาล นครระยอง. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยบูรพา.
รุ่ง รอดจาก. (2555). แนวทางการดำเนินงานโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนการุ้งวิทยาคม อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
วสันต์ สัตยคุณ. (2554). การพัฒนาตัวบ่งชี้การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วัชราภรณ์ บุญฟัก. (2560). ปัญหาการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
สุภัคพร นิธิพัฒนกาญจน์. (2559). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดชัยนาท สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา. 10 (1): 2559.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42. (2563). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2563-2565. กลุ่มนโยบายและแผน. นครสวรรค์