ภาวะผู้นำตามสถานการณ์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • วาสินี สุวรรณคาม คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • กัญญ์รัชการย์ เลิศอมรศักดิ์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำ, ภาวะผู้นำตามสถานการณ์, ประสิทธิผลของสถานศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาประสิทธิผลของสถานศึกษา 3) ศึกษาความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาและประสิทธิผลของสถานศึกษา 4) ศึกษาภาวะผู้นำตามสถานการณ์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษากลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ จำนวนทั้งหมด 338 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถา มมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .937 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอนผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2)ประสิทธิผลของสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3) ภาวะผู้นำตามสถานการณ์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับสูงมากเท่ากับ .822 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01และ 4) ภาวะผู้นำตามสถานการณ์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา ได้แก่ การให้มีส่วนร่วม การสั่งการและการมอบหมายงาน ร่วมกันพยากรณ์ความแปรปรวนของประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ ได้ร้อยละ 67.90 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

กวิสรา ชูทอง. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสถานการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 จังหวัดปราจีนบุรี [วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา].

ชัยณรงค์ สร้างช้าง. (2561). โปรแกรมการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนบนพื้นที่สูง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย].

ชัยยนต์ เพาพาน. (2559, 20 เมษายน). แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐานการเป็นผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDMKKU

ชัยเสฎฐ์ พรหมศรี. (2557). แนวทางการทบทวนวรรณกรรมสำหรับงานวิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษา.วารสารนักบริหาร, 34(1), 12-13.

ธัญพร ตันหยง. (2560). การศึกษาบทบาทภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี].

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปาริชาติ สมใจ. (2558). อิทธิพลของภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน [วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร].

ภารดี อนันต์นาวี. (2562). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานภาคตะวันออก. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 15(1), 83-93.

วรรณพร ตรีชัยศรี. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับการเป้าองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรีเขต 2 [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี].

วิโรจน สารรัตนะ. (2556). แนวคิด ทฤษฎี และประเด็นเพื่อการบริหารทางการศึกษา (พิมพครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: ทิพยวิสุทธิ์.

วิไล พินิจพงศ์ (2558). ภาวะผู้นำทางการศึกษา. http://www.irasakchodcham.wordpress.com.

สมหมาย อ่ำดอนกลอย. (2556). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 7(1), 1-7.

สถาพร พฤฑฒิกุล. (2560). การบริหารการศึกษากับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 28(2), 36-49.

สัมฤทธิ์ กางเพ็ง. (2557). ภาวะผู้นำแบบบริการ: แนวคิดทฤษฎีและงานวิจัย. มหาสารคาม: อภิชาติการพิมพ์.

Hoy, W.K., & Ferguson, J. (1985). A theoretical framework and exploration of organization Effectiveness of school. Educational administration quarterly, 21(2), 121-122.

Khalil, G., Radwan, E.S., & Bernard, E.O. (2017). Situational leadership and its effectiveness in rising employee productivity: A study on North Lebanon organization. Human Resource Management Research, 7(3), 102-110.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Education and Psychological Measurement, 30(3), 607 - 610.

Likert, R. (1961). New pattern of Management. NewYork: McGraw – Hill.

Robbins P. Stephen, & Coulter K. (1996). Mary. Management. (6 th ed). Upper Saddle River,N.J.: Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-12-2024