ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการเห็นอกเห็นใจผู้อื่นของนักเรียนประถมศึกษา
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน, การเห็นอกเห็นใจผู้อื่น, การจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการเห็นอกเห็นใจผู้อื่นบทคัดย่อ
ในสังคมปัจจุบัน เด็กยังขาดความเห็นอกเห็นใจระหว่างกัน การจัดการเรียนการสอนจึงต้องมีความน่าสนใจและสามารถพัฒนาการเห็นอกเห็นใจผู้อื่นของนักเรียนได้ การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบการเห็นอกเห็นใจผู้อื่นของนักเรียนก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน 2) เพื่อเปรียบเทียบการเห็นอกเห็นใจผู้อื่นของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานกับนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามปกติ โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/9 จำนวน 31 คน และมีกลุ่มควบคุมเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/10 จำนวน 30 คน เลือกตัวอย่างโดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการสอนวิชาสังคมศึกษาที่มีการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน 2) แผนการสอนวิชาสังคมศึกษาแบบปกติ 3) แบบวัดการเห็นอกเห็นใจผู้อื่น 4) แบบสังเกตการเห็นอกเห็นใจผู้อื่นของนักเรียน 5) แบบสัมภาษณ์นักเรียน ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลและทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการคำนวณหาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบการเห็นอกเห็นใจผู้อื่นของนักเรียน โดยใช้สถิติวิเคราะห์ t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของคะแนนการเห็นอกเห็นใจผู้อื่นหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน (𝑥̅=36.55) สูงกว่าก่อนเรียน (𝑥̅=32.90) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p=.017) 2) หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ นักเรียนกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนการเห็นอกเห็นใจผู้อื่น (𝑥̅=36.55) สูงกว่ากลุ่มควบคุม (𝑥̅=33.47) อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t=1.361, p=.179)
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). กระทรวงศึกษาธิการเตรียมความพร้อมจัด 5 รูปแบบการเรียนการสอนยุคโควิด-19 ป่วนเมือง. https://www.thairath.co.th/news/local/2100016
ชุติมา สินธุวานิช. (2565). Game-based Learning เรียนกี่ทีก็มีเฮ. https://www.starfishlabz.com/blog/993-game-based-learning-เรียนกี่ทีก็มีเฮ
ณัฏฐณี สุขปรีดี. (2563). เล่นสมมุติ คืออะไร ทำไมจึงสำคัญกับพัฒนาการเด็ก. https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/87117/-bparpres-bpar-
นรรัชต์ ฝันเชียร. (2563). Games Based Learning หรือ GBL คืออะไร. https://www.trueplookpanya.com/dhamma/content/84436
ประหยัด จิระวรพงศ์. (2559). Games Based Learning : สื่อการเรียนรู้รูปแบบใหม่ของไทย. http://nuybeam.blogspot.com/2010/08/game-based-learning.html
วชิรวัชร งามละม่อม. (2558). แนวคิด และทฤษฎีที่เกี่ยวกับลักษณะทางประชากรศาสตร์. https://learningofpublic.blogspot.com/2015/09/blog-post_11.html
วีระยุทธ กาญจน์ชูฉัตร. (2564). ‘โรคใหม่’ สร้าง ‘โลกแห่งการเรียนรู้ใหม่’ : อนาคตการศึกษาไทยยุคหลัง COVID-19. https://www.eef.or.th/future-of-thai-education-after-covid19/
สถาพร พฤฑฒิกุล. (2558). คุณภาพผู้เรียน....เกิดจากกระบวนการเรียนรู้. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา, 6(2), 1-13.
สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน. (2563). Empathy ทักษะที่หายไปของเด็กไทย!. https://mgronline.com/qol/detail/9630000111624
อมรรัตน์ วงษ์มิตร. (2559). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการแข่งขันเป็นทีมด้วยเกมผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่ส่งผลต่อการทางานเป็นทีมของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. http://www.repository.rmutt.ac.th/handle/123456789/3103
อัจฉราพรรณ โพธิ์ตุ่น, และ สุธาทิพย์ งามนิล. (2558). ผลการสอนโดยใช้เกมตามแนวการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. http://gs.nsru.ac.th/NSRUNC/research/pdf/52.pdf
อารี ตัณฑ์เจริญรัตน์. (2554). การส่งเสริมจริยธรรมให้นักเรียน. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 13(1), 207-233.
Goleman, D. (1995). Emotional intelligence: Why it can matter more than IQ. Bantam Books.
Lim-Lange, C. (2021). Deep Human Resilience – the Skills and Mindsets We Need to Succeed in an Era of Change. สืบค้นจาก https://www.thekommon.co/deep-human-resilience/
Mckinney, S. E. (2008). Developing teachers for high-poverty schools: The role of the internship experience. Urban Education, 43(1) 68-82. https://www.researchgate. net/publication/249696267_Developing_Teachers_for_High Poverty_Schools_The_Role_of_the_Internship_Experience
Prez, M. D. M., Duque, A. G., and Garca, L. F. (2018). Game-Based Learning: Increasing the Logical-Mathematical, Naturalistic, and Linguistic Learning Levels of Primary School Students. Journal of New Approaches in Educational Research (NAER Journal), 7(1), 31-39. Retrieved from https://www.learntechlib.org/p/182226/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution 4.0 International License.
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา