สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาวิถีใหม่ตามการรับรู้ของครู ในโรงเรียนกลุ่มกรุงธนใต้ สังกัดกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • อรอุมา นาชัยพูล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • สุภาวดี ลาภเจริญ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

ผู้บริหารสถานศึกษา, สมรรถนะวิถีใหม่, สมรรถนะผู้บริหาร, การรับรู้

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาวิถีใหม่ตามการรับรู้ของครูในโรงเรียนกลุ่มกรุงธนใต้ สังกัดกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาวิถีใหม่ตามการรับรู้ของครูในโรงเรียนกลุ่มกรุงธนใต้ สังกัดกรุงเทพมหานคร จำแนกตามวุฒิการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และขนาดของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือ ครูในโรงเรียนกลุ่มกรุงธนใต้ สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 333 คน ซึ่งได้มาจากการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของโคเฮนและคณะ แล้วทำการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับเกี่ยวกับสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาวิถีใหม่ตามการรับรู้ของครูในโรงเรียนกลุ่มกรุงธนใต้ สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 40 ข้อ ผลการวิเคราะห์ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาโดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.88 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.930 สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบความแตกต่างของ ค่าเฉลี่ยรายคู่โดยวิธีของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า (1) สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาวิถีใหม่ตามการรับรู้ของครูในโรงเรียนกลุ่มกรุงธนใต้ สังกัดกรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับมากที่สุด (2) ผลการเปรียบเทียบสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาวิถีใหม่ตามการรับรู้ของครูในโรงเรียนกลุ่มกรุงธนใต้ สังกัดกรุงเทพมหานคร พบว่า 2.1) ครูที่มีวุฒิการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาวิถีใหม่ในโรงเรียนกลุ่มกรุงธนใต้ สังกัดกรุงเทพมหานครโดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 2.2) ครูที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกันมีความคิดเห็นต่อสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาวิถีใหม่ แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าทุกด้านมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.3) ครูที่อยู่ในสถานศึกษาที่มีขนาดต่างกัน มีความคิดเห็นต่อสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาวิถีใหม่ไม่แตกต่างกัน

References

กมลวรรณ สุขเกษม. (2561). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความเป็นเลิศของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

ณิกัญญา สายธนู. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษากับองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

ดาราพร เชยเถื่อน. (2560). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

ประเสริฐ กำเลิศทอง. (2560). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จันทบุรี เขต 1. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

พัชนียา ราชวงษ์. (2564). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคปกติใหม่ (New Normal) ตามการรับรู้ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ภมรวรรณ แป้นทอง. (2561). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการเรียนรู้แบบดิจิทัลในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2. เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

ภัคจิรา ผาทอง. (2563). สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2. พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.

ภาสกร หมื่นสา.(2561). ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารสถนศึกษากับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 30. ชัยภูมิ: มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

สุทธาสินี คูเจริญทรัพย์. (2560). การศึกษาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2. ราชบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2562). แผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

Cohen, L., Manion, L., & Morrison, K. (2011). Research methods in education (7th Ed.). New York: Routledge.

Scheffe, H. (1953). A method for judging all contrasts in the analysis of variance. Biometrika, 40(1/2), 87-104.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-08-2023