มาตรฐานที่พึงประสงค์ของนักศึกษาปฏิบัติการสอนพลศึกษา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตกระบี่

ผู้แต่ง

  • สุธน เพ็ชรนิล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตกระบี่
  • ก้องเกียรติ เชยชม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตกระบี่
  • สุนันทา สุพรรณ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตกระบี่

คำสำคัญ:

นักศึกษาปฏิบัติการสอนพลศึกษา มาตรฐานที่พึงประสงค์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สถานภาพปัจจุบันของมาตรฐานที่พึงประสงค์ของนักศึกษาปฏิบัติการสอนพลศึกษา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตกระบี่ และ 2) อิทธิพลของคุณลักษณะส่วนบุคคลที่มีผลต่อมาตรฐานที่พึงประสงค์ของนักศึกษาปฏิบัติการสอนพลศึกษา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตกระบี่ โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัย 2 แนวทาง คือ แนวทางเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1) นักเรียน 2) ครูพี่เลี้ยง และ 3) ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 12 คน และแนวทางเชิงปริมาณ โดยเก็บข้อมูลจากนักเรียนของโรงเรียนที่มีนักศึกษาปฏิบัติการสอนของมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตกระบี่ ปีการศึกษา 2562 จำนวน 397 คน การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ สำหรับแนวทางเชิงปริมาณ ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ประกอบด้วย การหาค่าอัตราส่วนร้อย สถิติพรรณนา นอกจากนี้ ผู้วิจัยยังหาอิทธิพลของคุณลักษณะส่วนบุคคลที่มีผลต่อมาตรฐานที่พึงประสงค์ของนักศึกษาปฏิบัติการสอนพลศึกษา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตกระบี่ โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์
การผันแปรทางเดียว (one-way analysis of variance) และเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปตารางและความเรียง สำหรับแนวทางเชิงคุณภาพ วิเคราะห์โดยการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปATLAS.ti เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงคุณภาพมาสนับสนุนข้อมูลเชิงปริมาณ

          จากการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุอยู่ระหว่าง 13-15 ปี และกำลังศึกษาอยู่ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีความคิดเห็นว่านักศึกษาปฏิบัติการสอนพลศึกษามีมาตรฐานที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด และด้านอิทธิพลของคุณลักษณะส่วนบุคคลที่มีผลต่อมาตรฐานที่พึงประสงค์ของนักศึกษาปฏิบัติการสอนพลศึกษา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตกระบี่ พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ และระดับการศึกษาที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับมาตรฐานที่พึงประสงค์ของนักศึกษาปฏิบัติ การสอนพลศึกษาไม่แตกต่างกัน ส่วนเพศที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับมาตรฐานที่พึงประสงค์ของนักศึกษาปฏิบัติการสอนพลศึกษาที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05    

 

References

ธงทอง จันทรางศุ. (2553). มิติใหม่ในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานกับการพัฒนาครูยุคใหม่. (30 กันยายน 2553). เดลินิวส์, หน้า 31.

ราชกิจจานุเบกษา. (2562). พระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ พ.ศ. 2562. สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2562 จาก

https://www.tnsusti.ac.th/file/Uploads/9011/ 2019/T_0127.pdf.

วิสันต์ สุขวิสิทธิ. (2556). เพศ-ภาษา: การสื่อความคิดเกี่ยวกับเพศสภาวะผ่านกลวิธีทางภาษาในวาทกรรมสาธารณะภาษาไทย. วารสารวจนะ, 1(1), 23-45.

ภาณุวัฒน์ เส้งสกูล. (2016). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้นำท้องถิ่นเทศบาล ตำบลทุ่งลาน อำเภอ คลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา. วารสารศึกษาศาสตร์

มหาวิทยาลัย ทักษิณ, 16(1), 144-152.

สถาบันการพลศึกษา. (2556). หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา (ปรับปรุง 2556). กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2556). การใช้สถิติในงานวิจัยอย่างถูกต้องและได้มาตรฐานสากล. กรุงเทพฯ: สามลดา.

Johnston, L. R. (2017). Curating research data volume one: Practical strategies for your digital repository. Chicago, Illinois: Library

Materials.

Senawong, M. (2019). Producing affective performance and capital: Lao migrant women in the sex industry along the Thai-Lao border.

Journal of Mekong Societies, 15(1), 62-86.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-12-2022