การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ เรื่องเทคนิคการระบายสีน้ำ โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุก

STUDY OF LEARNING ACHIEVEMENT IN WATERCOLOR PAINTING TECHNIQUES BY USING ACTIVE LEARNING MANAGEMENT (ACTIVE LEARNING)

ผู้แต่ง

  • ศิริพร ธนะทรัพย์ทอง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • สาธิต ทิมวัฒนบรรเทิง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

Active learning management, Watercolor painting technique, Learning achievement

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เรื่อง เทคนิคการระบายสีน้ำ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านทุ่งกราด เรื่อง เทคนิคการระบายสีน้ำ ด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียน เรื่อง เทคนิคการระบายสีน้ำ โดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านทุ่งกราด อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี มีห้องเรียน จำนวน 3 ห้องเรียน จำนวน 90 คน กลุ่มตัวอย่าง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 40 คน โดยสุ่มห้องเรียนด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ใช้ระยะเวลาจำนวน 10 คาบ คาบละ 50 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 10 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ด้านความรู้ความเข้าใจ จำนวน 30 ข้อ 3) แบบสอบถามวัดความพึงพอใจของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย (Mean), ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และสถิติแบบ t-test dependent sample                                                     ผลการวิจัย พบว่า 1. การจัดการเรียนรู้เชิงรุกมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 86.58/94.15 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ผู้วิจัยกำหนดไว้ 80/80   2. การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า ค่าเฉลี่ยก่อนเรียนอยู่ที่ 17.90 และคะแนนหลังเรียนอยู่ที่24.05 ซึ่งนำคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนมาเปรียบเทียบ พบว่า มีค่า t เท่ากับ 23.045 แสดงให้เห็นว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ 3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ทั้ง 4 ด้าน คือ 1) ด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้  2) ด้านบรรยากาศการจัดการเรียนการสอน  3) ด้านการใช้สื่อสารการเรียนการสอน 4) ด้านการวัดผลและประเมินผล ผลการวิเคราะห์อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด

References

สำนักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2561). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

สุรไกร นันทบุรมย์. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างการเรียนรู้แบบผสานวิธี ห้องเรียนกลับด้าน พื้นที่การเรียนรู้และการเรียนรู้เชิงรุก. วารสารห้องสมุด ปีที่ 61, ฉบับที่ 2 (ก.ค.-ธ.ค. 2560), หน้า 47-66.

อัญชลี โสมดี. (2535). กิจกรรมศิลปศึกษา (ทัศนศิลป์). กรุงเทพฯ : โรงเรียนมัธยมสาธิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

พะเยาว์ เนตรประชา. (2558). การวัดและประเมินผลการศึกษา. กรุงเทพฯ: โปรแกรมวิชาการ.

นันทนา สำเภา. (2557). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน. อำนาจเจริญ: NANA Research.

สมาคมศิษย์เก่าเพาะช่าง(ในพระอุปถัมภ์ของพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าสุทธสิริโสภา) (2543). 84 ปี ชาตกาล ศาสตราจารย์เฉลิม นาคีรักษ์ ศิลปินอห่งชาติ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: กรังปรีซ์อินเตอเนชั่ลแนล

หน่วยศึกษานิเทศ (2561). แนวทางการนิเทศ เพื่อพัฒนาและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ (Active Learning) ตาม

นโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-12-2022