การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษและความสามารถในการอ่าน จับใจความ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับกลวิธีมัลติพาร์ท
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R, กลวิธีมัลติพาร์ท, การอ่านจับใจความบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับกลวิธีมัลติพาร์ท ก่อนและหลังการเรียน และหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับกลวิธีมัลติพาร์ท ก่อนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 จำนวนนักเรียน 30 คน ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนโยธินนุกูล สังกัดเทศบาลตำบลหนองไผ่ล้อม อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ Life และ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถ ในการอ่านจับใจความ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และทดสอบคะแนนที แบบ t-test dependent samples และ t-test for one sample
ผลการวิจัยพบว่า
- คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับกลวิธีมัลติพาร์ทสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 และคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษหลังเรียนไม่สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- 2. ความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับกลวิธีมัลติพาร์ทสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
ฉวีวรรณ คูหาภินันทน์. (2542). เทคนิคการอ่าน. กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น
เบญจรัตน์ ปิ่นเวหา. (2549). การสอนอ่านเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
รินทร์ลภัส เฉลิมธรรมวงษ์. (2557). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้เทคนิค KWL Plus (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เรวดี หิรัญ. (2539). แนวคิดและเทคนิควิธีสอนภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วนิดา ชาธิพา. (2558). การศึกษาความสามารถในการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จาการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับแผนผังความคิด (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
สมบูรณ์ ตันยะ. (2556). วิธีวิทยาการวิจัยทางการศึกษา. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
สุคนธ์ สินธพานนท์. (2554). วิธีสอนตามแนวปฏิรูปการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพเยาวชน. กรุงเทพฯ: เทคนิคพริ้นติ้ง.
สุดธิดา กิตยานุรักษ์. (2551). การใช้แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์. (2543). หลักและวิธีสอนอ่าน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
อนุพันธ์ อินทร์พงษ์ และสิรินาถ จงกลกลาง. (2562). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยและความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ แบบ SQ4R ร่วมกับกลวิธีมัลติพาร์ท. การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ หลักสูตรและการสอนสัมพันธ์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 5. วันที่ 4 มีนาคม 2562 ณ โรงแรมสีมาธานี จ.นครราชสีมา. (เผยแพร่เมื่อเดือน เมษายน 2562) NICCI037 น.1-9.
Vitale, M. R., & Romance, N. R. (2007). Reading comprehension strategies: Theory, interventions, and technologies. New Jersey: Lawrence erlbaum.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา