ความรู้สึกแปลกแยกในมหาวิทยาลัยของนิสิตปริญญาตรี: การศึกษา เชิงปรากฏการณ์วิทยาแบบบรรยาย

ผู้แต่ง

  • จิรพรรณ์ พูลเอี่ยม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ชมพูนุท ศรีจันทร์นิล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ดลดาว วงศ์ธีระธรณ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

ความรู้สึกแปลกแยก, นิสิต นักศึกษา, วิธีวิจัยเชิงปรากฏการณ์วิทยาแบบบรรยาย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ความรู้สึกแปลกแยกในมหาวิทยาลัยของนิสิตปริญญาตรีและผลกระทบของความรู้สึกที่เกิดขึ้น โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปรากฏการณ์วิทยาแบบบรรยาย ข้อมูลวิจัยได้มาจากการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างกับนิสิตปริญญาตรีที่กำลังประสบกับความรู้สึกแปลกแยกจำนวน 3 คน และวิเคราะห์ข้อมูลวิจัยตามขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปรากฏการณ์วิทยาแบบบรรยาย  ผลการวิจัยพบโครงสร้างทั่วไปของประสบการณ์ความรู้สึกแปลกแยกในมหาวิทยาลัยของนิสิตปริญญาตรีที่ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ 1) ความแตกต่างจากบุคคลอื่นในมหาวิทยาลัย 2) ความไม่พึงพอใจบุคคลในสังคมมหาวิทยาลัย 3) ความไม่เชื่อใจบุคคลในสังคมมหาวิทยาลัย 4) ความรู้สึกไม่เป็นส่วนหนึ่งของสังคมมหาวิทยาลัย และ5) การขาดที่พึ่ง อีกทั้ง องค์ประกอบเหล่านี้ ยังสะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบทางจิตใจที่เกิดขึ้นกับนิสิตที่มีความรู้สึกแปลกแยก และทำให้ผู้วิจัยในฐานะนักจิตวิทยาการปรึกษาได้เข้าใจ และตระหนักถึงแนวทางการช่วยเหลือทางด้านจิตใจกับนิสิตเหล่านี้

References

จุฑารัตน์ เอื้ออำนวย. (2549). จิตวิทยาสังคม (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: แอคทีฟ พริ้นท์.
เฉลียว ฤกษ์รุจิพิมล. (2520). การศึกษาเอเลียนเนชั่นในมหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมวิทยาและมนุษยวิทยามหาบัณฑิต สาขาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
ปรีชา เมธาวัสรภาคย์. (2540). ความแปลกแยกของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน สาขาวิชาสังคมศาสตร์. ศูนย์วิจัยสังคมศาสตร์ สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ, กรุงเทพฯ.
วิโรจน์ พรหมสุด. (2554). ปัจจัยเชิงสาเหตุพหุระดับที่ส่งผลต่อความแปลกแยกของนักเรียน. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา , ชลบุรี.
วิไล วงศ์สืบชาติ. (2528). ความแปลกแยกของนักศึกษา: ศึกษาเฉพาะกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วิทยานิพนธ์สังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต (สังคมวิทยา) คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
Bevan, M. T., (2014). A Method of Phenomenological Interview. Qualitative Health Research, 24, 136-144.
Brendtro, L. K., Brokenleg, M. & Bockern, S. V. (1990). Reclaiming youth at risk: Our hope for the future. United States: National Educational Service.
Case, J. M. (2008). Alienation and engagement: development of an alternative theoretical framework for understanding student learning. HighEduc, 55, 321-332.
Coffman, E. (1957). Alienation from interaction. Human Relations, 10, 47-60.
Giorgi, A. (2009). The descriptive phenomenological method in psychology: A modified husserlian approach. Pittsburgh, PA: Duquesne University Press.
Giorgi, A., Giorgi, B. & Morley, J. (2017). The descriptive phenomenological psychological method. In Willig, C. & Rogers, S. W. (Ed.), The sage handbook of qualitative research in psychology (2nd ed.). London: Sage.
Giorgi, A. (2012). The Descriptive Phenomenological Psychological Method. Journal of Phenomenological Psychology, 43, 3-12.
Hascher, T., & Hagenauer, G. (2010). Alienation from School. International Journal of Educational Research, 49, 220-232.
Johnson, F. (1963). Psychological Alienation: Isolation and Self-Estrangement. Psychoanalytic review, 62 (3), 369-450.
Khawaj, J. (1988). Psychosocial Correlations of Alienation in Kuwaiti Students. (Doctoral Dissertation). Retrieved November 13, 2017, from e-theses online service. (Publication No. 382906)
Low, R. Y. S. (2014). Experiences of Alienation at University: some themes amongst Mount Druitt youth. Retrieved November 14, 2017, from Academic Search Complete.
Mcleod, J. (2011). Qualitative research in counselling and psychotherapy (2nd ed.). London: Sage.
Ponterotto, J. G. (2005). Qualitative research in counselling psychology: A primer on research paradigms and philosophy of science. Journal of Counselling Psychology, 52, 126-136.
Shulman, L. (2009). The skills of helping individuals, families, group, and communities (6th ed.). USA: Brooks/Cole.
Schulz, L. L. & Rubel, D. J. (2011). A Phenomenology of Alienation in High School: The Experiences of Five Male Non- Completers. Professional School Counseling, 14, 286-298.
Stokols, D. (1975). Toward a Psychological Theory of Alienation. Psychological Review, 82, 26-44.
The British Psychological Society (BPS). (2009). Code of Ethics and Conduct. n.p.: The British Psychological Society.
Willig, C. (2008). Introducing qualitative research in psychology (2nd ed.). United Kingdom: Open University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-08-2020