ปัจจัยที่เอื้อต่อการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ ในมหาวิทยาลัยเอกชน Factors Conducing to Academic Promotion of Instructors in Private Universities

ผู้แต่ง

  • ศรุดา ชัยสุวรรณ
  • ศ.ดร. วิชัย วงษ์ใหญ่
  • ศ.ดร. เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์ ราชบัณฑิต
  • ผศ.ดร. สุดา ทัพสุวรรณ

คำสำคัญ:

ตำแหน่งทางวิชาการ, ปัจจัยที่เอื้อ, อาจารย, มหาวิทยาลัยเอกชน, Academic Promotion, Factors Conducing, Instructors, Private Universities

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นการนำเสนอผลการวิจัยเรื่องปัจจัยที่เอื้อต่อการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยเอกชน โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่เอื้อต่อการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยเอกชน วิธีการวิจัยแบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาปัจจัยที่เอื้อต่อการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยเอกชน ขั้นตอนที่ 3 วิเคราะห์และสังเคราะห์ปัจจัยที่เอื้อต่อการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยเอกชน ขั้นตอนที่ 4 ตรวจสอบและยืนยันปัจจัยที่เอื้อต่อการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของ อาจารย์ในมหาวิทยาลัยเอกชน และขั้นตอนที่5 นำเสนอปัจจัยที่เอื้อต่อการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยเอกชนผู้วิจัยศึกษาและเก็บข้อมูลด้วยตนเองโดยการศึกษาเอกสารการสัมภาษณ์จากผู้มีส่วนร่วมในการศึกษาปัจจัยที่เอื้อต่อการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยเอกชนโดยเลือกแบบเจาะจง ซึ่งได้แก่ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการหรือผู้ที่มีตำแหน่งเทียบเท่า คณบดีหัวหน้าสาขาวิชา อาจารย์ประจำของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต มหาวิทยาลัยสยาม และมหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ จำนวน 45 คน ผู้มีส่วนร่วมในการตรวจสอบและยืนยันปัจจัยที่เอื้อต่อการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยเอกชน โดยการสนทนากลุ่มอาจารย์ประจำซึ่งได้แก่ อาจารย์ที่มีตำแหน่งทางวิชาการและอาจารย์ที่ไม่มีตำแหน่งทางวิชาการ จำนวน 9 คน และการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ จำนวน 5 คน ผลการศึกษาปัจจัยที่เอื้อต่อการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยเอกชนโดยการสัมภาษณ์ พบว่า ระดับมหาวิทยาลัยมีนโยบายในการส่งเสริมและสนับสนุนตลอดจนให้ความสำคัญต่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ะดับคณะได้มีการกระตุ้นและให้กำลังใจอาจารย์ในคณะวิชา ระดับสาขาวิชามีการจัดและลดภาระงานสอนให้กับอาจารย์ ส่วนระดับอาจารย์ที่ผ่านมาต้องใช้ระยะเวลานานในขั้นตอนการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ และอาจารย์ขาดความรู้และความชัดเจนในระเบียบและกฎเกณฑ์ ปัจจัยที่เอื้อต่อการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยเอกชน คือ ปัจจัยด้านองค์การได้แก่ วัฒนธรรมองค์การ ค่านิยมในการทำงานของผู้บริหาร การส่งเสริมสนับสนุนจากมหาวิทยาลัย และปัจจัยด้านอาจารย์ ได้แก่แรงจูงใจ เจตคติต่อการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการและการพัฒนาตนเองด้านวิชาการ ผลจากการตรวจสอบและยืนยันปัจจัยที่เอื้อต่อการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยเอกชน โดยการจัดสนทนากลุ่มอาจารย์ประจำและการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการพบว่า ปัจจัยที่เอื้อต่อการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยเอกชน คือ ปัจจัยด้านองค์การ ได้แก่ วัฒนธรรมองค์การ ค่านิยมในการทำงานของผู้บริหาร การส่งเสริมสนับสนุนจากมหาวิทยาลัย และปัจจัยด้านตัวอาจารย์ ได้แก่แรงจูงใจ เจตคติต่อการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการและการพัฒนาตนเองด้านวิชาการผลการศึกษาพบว่าการพิจารณาผลงานทางวิชาการ ของผู้ทรงคุณวุฒิระหว่างกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับกลุ่มสาขาวิชาสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์อยู่ภายใต้ระเบียบและวิธีการเดียวกันคือจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) การพิจารณาผลงานทางวิชาการของกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะพิจารณาจากบทความ ซึ่งเป็นการสรุปผลสุดท้ายของการศึกษาวิจัย ลักษณะตามธรรมชาติของวิชาเป็นกายภาพ ผลงานทางวิชาการเป็นรูปธรรม ส่วนการพิจารณาผลงานทางวิชาการของกลุ่มสาขาวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ จะพิจารณาจากรายงานการศึกษาวิจัยที่เต็มรูปแบบซึ่งเป็นรูปเล่ม ผลงานทางวิชาการส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นนามธรรม

 

 

This article reported the results of factors conducing to academic promotion of instructors in private universities, by qualitative research extended about the factors conducing to academic promotion of instructors in private universities. The method of the study followed five steps. First, review of literature ; second, study of factors conducing to academic promotion of instructors in private universities ; third, factors conducing to academic promotion of instructors in private universities analysis and synthesis ; fourth, factors conducing to academic promotion of instructors in private universities validity and confirmation ; fifth, factors conducing to academic promotion of instructors in private universities presentation. The researcher conducted the study and collected data by using the related of literature, interviews from Vice President for Academic Affairs or Work position as, Deans, Head of Branch, Instructors by using purposive sampling method, They are in University of the Thai Chamber of Commerce, Assumption University, Kasembandit University, Siam University and Southeast Asia University, amount 45 persons. In focus group discussion from participants for factors conducing to academic promotion of instructors in private universities validity and confirmation interviews by using purposive sampling method in instructors from the instructors had academic titles and instructors who do not have academic titles, amount 9 persons. In interview from participants for factors conducing to academic promotion of instructors in private universities validity and confirmation interviews by using purposive sampling method in the committees on academic titles, amount 5 persons. The findings of the study of factors conducing to academic promotion of instructors in private universities from Interviews were as follows : the university levels had policies for promotion as well as supporter the importance of academic promotion. The faculty levels are motivated toward teaching ; The branch level had managed and reduced work loads. In the instructor levels, the instructors took long time for processing. They lacked the information about the criteria and procedures and criteria of academic promotions, factors conducing to academic promotion of instructors in private universities were factors in organization like organizational culture, work value of the administrators , promotion and support from universities, and factors related to instructors profile like motivation, attitude toward academic promotion, as well as academic development. The findings on factors conducing to academic promotion of instructors in private universities validity and confirmation from focus group discussion among Instructors and interviews from committees on academic titles were as follows : factors conducing to academic promotion of instructors in private universities were factors in organization like organizational culture, work value of the administrators , promotion and supporting from Universities, and factors related to instructors profile like motivation, attitude toward academic promotion, as well as academic development. The consider for academic works between science and technology, and social science and humanities under procedures and methods from commission on higher education, to consider for academic works of science and technology group from article of result of research, characteristic of natural science were concrete but consider for academic work of Social science and Humanities from full papers of report a study, there were abstract .

Downloads

เผยแพร่แล้ว

11-06-2014

ฉบับ

บท

Original Articles