การปรับปรุงมาตรฐานกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม: มุมมองจากประเทศสหรัฐอเมริกา Revision of standards in social studies, religion and culture subject area: Considering from American perspective
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการ นำเสนอ การดำเนินการจัดทำโครงสร้าง และข้อวิจารณ์ ที่มีต่อเอกสารมาตรฐานสังคมศึกษา ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ หน้าที่พลเมืองและการปกครอง ในประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อเปรียบเทียบตลอดจนนำเสนอข้อเสนอแนะและประเด็นที่ควรคำนึงถึงให้แก่บุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการปรับปรุงมาตรฐานกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 ผลการศึกษาพบว่า มีข้อเสนอแนะและประเด็นที่ควรคำนึงถึงในการปรับปรุงมาตรฐานในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 ดังนี้คือ ชื่อกลุ่มสาระการเรียนรู้ ลักษณะและการแบ่งสาระ จำนวนมาตรฐานการเรียนรู้และมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นความครอบคลุมของมาตรฐานในด้านองค์ความรู้ทักษะกระบวนการ และค่านิยมที่นักเรียนจำเป็นต้องรู้ ความครอบคลุมของบุคคลต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนามาตรฐาน การสะท้อนสภาพสังคมที่เป็นจริงของมาตรฐาน ความเข้าใจที่ตรงกันของภาษาที่ใช้ในมาตรฐาน การยอมรับมาตรฐานจากบุคคลในศาสตร์สาขาวิชา และความถูกต้องของมาตรฐาน
This article aims at presenting operation, structure and critiques on social studies, geography, history, economics, civics and government standard documents. The presentation also focuses on comparing and proposing to guidance the organization engaged with revising the standards of social studies, religion and culture subject area in Basic education curriculum B.E.2544 (A.D.2001). The findings underline these following notions: Subject area title, strand categorization, numbers of learning standard and benchmark, scope of standards on “body knowledge, skills, processes, and values required for students”, roles of educational personal, real world reflected by the standards, communicative property of the languein the standards, consensus from scholars in the discipline and correctness of the standards.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา