ผลการสอนแบบบูรณาการของเมอร์ด็อคร่วมกับผังกราฟิกที่มีต่อความเข้าใจในการอ่านและเจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความเข้าใจการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังได้รับการสอนแบบบูรณาการของเมอร์ด็อคร่วมกับผังกราฟิก 2) เปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการสอนแบบบูรณาการของเมอร์ด็อคร่วมกับผังกราฟิกกับเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม และ 3) ศึกษาเจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการสอนแบบบูรณาการของเมอร์ด็อคร่วมกับผังกราฟิก กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบรรพตพิสัยพิทยาคม จำนวน 35 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) แผนการสอนแบบบูรณาการของเมอร์ด็อคร่วมกับผังกราฟิก 2) แบบวัดความเข้าใจการอ่านภาษาอังกฤษ และ 3) แบบวัดเจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การทดสอบที กรณีกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระต่อกัน
ผลการวิจัย พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการสอนแบบบูรณาการของเมอร์ด็อคร่วมกับผังกราฟิก มีความเข้าใจการอ่านภาษาอังกฤษหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีเจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
ชนิกานต์ โนหลักหมื่น. (2563). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษโดยวิธีการสอนแบบบูรณาการ ของเมอร์ด็อคร่วมกับเทคนิคการใช้คำถาม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์).
ทิศนา แขมมณี. (2563). ศาสตร์ การสอน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธีรภัทร สุวรรณพานิช. (2561). การพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยกิจกรรมการสอนอ่านแบบบูรณาการของเมอร์ด็อค (MIA). (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม).
นันทิยา ประจันทร์เสน. (2561). ผลของการสอนอ่านโดยใช้ผังกราฟิกที่มีต่อความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์).
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีรียาสาส์น.
ปรัชพร พันหลง. (2561). กลวิธีการสอนอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อส่งเสริมการอ่านภาษาอังกฤษของผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ ในศตวรรษที่ 21. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 12(3), 121 – 133.
พัทธมน หน่อสุวรรณ. (2561). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจด้วยกระบวนการจัด การเรียนรู้แบบบูรณาการของเมอร์ดอคร่วมกับเทคนิค 5W1H ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม).
พัทรนันธ์กรณ์ สำรองพันธุ์. (2561). ผลการสอนอ่านประกอบเทคนิคผังกราฟิกที่มีต่อความสามารถในการอ่านจับใจความและเจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์).
รัตยา ผลเรือง. (2562). การใช้แนวคิดบูรณาการของเมอร์ด็อคเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม).
วัจนีย์ ดอกไม้ทอง และสิทธิพล อาจอินทร์. (2562). การพัฒนาความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ และการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการของเมอร์ด็อคร่วมกับเทคนิคการใช้ผังกราฟิก. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 13(3-4), 19-27.
วัสมน กฤษกลาง. (2563). การศึกษาความสามารถในการอ่านจับใจความและทักษะการคิดของ Murdoch (MIA) ร่วมกับแผนผังกราฟฟิก. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา).
อุดม นวน, สนใจ ไชยบุญเรือง และกุหลาบ ปุริสาร. (2560). แนวทางพัฒนาทักษะการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ 25: กรณีศึกษาโรงเรียนหนองขามพิทยาคม. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย, 7(2), 150-160.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2561). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2561. กรุงเทพฯ: สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ.
สุณา กังแฮ. (2560). การพัฒนาความสามารถทางการอ่านภาษาอังกฤษในการเรียนวิชาการอ่านภาษาอังกฤษทั่วไป โดยใช้วิธีสอนแบบบูรณาการของเมอร์ด็อค (MIA) ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.
สุมาลี เพชรคง. (2563). ผลของการสอนอ่านภาษาอังกฤษตามแบบบูรณาการของเมอร์ด็อค (MIA) ที่มีต่อความเข้าใจในการอ่านและความพึงพอใจในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนห้วยยอด. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ, 13(1), 69-82.
สุรพงษ์ น้อยสะอาด. (2561). การพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลักสูตรสองภาษาโดยใช้วิธีการสอนการอ่าน แบบบูรณาการของเมอร์ดอกซ์ (MIA). (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต).
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
อนุวัติ คูณแก้ว. (2560). สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Murdoch, G. S. (1986). A more integrated approach to the teaching of reading. English Teaching Forum, 34(1), 9–15.
Widdowson, H. G. (1979). Explorations in applied linguistics. London: Oxford University.