ผลการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาที่มีต่อความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา และ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษากับเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ เด็กปฐมวัยในชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนบ้านหนองตะขบ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท จำนวน 1 ห้องเรียน รวม 17 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหาที่มีลักษณะเป็นสถานการณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบอันดับที่มีเครื่องหมายกำกับของวิลคอกซัน
ผลการวิจัยพบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษามีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการคิดแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการคิดแก้ปัญหาสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
เกตุมณี เหมรา. (2559). การจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษาเรื่องของดีเมืองร้อยเอ็ดเพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย. (ปริญญานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).
จุฬารัตน์ ธรรมประทีป. (2560). การพัฒนาวิชาชีพครูแบบร่วมมือเรื่อง STEM สำหรับครูปฐมวัย. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ., 10(2), 35-53.
ฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธิ์. (2562). การพัฒนาแบบวัดความรู้สึกเชิงจำนวน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 6(3), 118-129.
ชลาธิป สมหิโต. (2560). การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาในระดับการศึกษาปฐมวัย. วารสารศาสตร์ปริทัศน์, 30(2), 102-111.
ช่อทิพย์ มารัตนะ และวาสนา กีรติจำเริญ. (2561). การศึกษาผลการเรียนรู้วัสดุและสมบัติของวัสดุของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา. วารสารชุมชนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 12(3), 149-162.
บุญชม ศรีสะอาด. (2559). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: วีริยาสาส์น.
เบญจกาญจน์ ใส่ละม้าย. (2559). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยผ่านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาเรื่องอาชีพในท้องถิ่นจังหวัดสงขลา. วาสารวิทยบริการ, 26(2), 104-110.
ประพันศิริ สุเสารัจ. (2560). การพัฒนาการคิด. กรุงเทพฯ: เทคนิคพริ้นติ้ง.
ประสาท เนืองเฉลิม. (2561). สะเต็มศึกษากับสไตส์การเรียนรู้ตามแนวคิด Kolb. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน. มนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(2), 11-17.
ปิยพร ค้าสุวรรณ และชลาธิป สมาหิโต. (2558). ผลการจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยที่มีต่อความสามารถในการคิดแก้ปัญหา. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 30(3), 175-185.
โรงเรียนบ้านหนองตะขบ. (2561). ประกันคุณภาพพัฒนาการคุณภาพการศึกษา 2561. ชัยนาท: ชัยนาทการพิมพ์.
วศิณีย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา. (2560). เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสะเต็มศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2560-2579. สืบค้นจาก http://backoffice.onec.go.th/uploaded/Outstand/2017-EdPlan60-79.pdf
สุพรรณี ชาญประเสริฐ. (2559). สะเต็มศึกษากับการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. นิตยาสาร สสวท., 43(192), 14-17.
อุไรวรรณ ภูจ่าพล. (2561). การศึกษาผลการเรียนรู้หน่วยการเรียนรู้ไฟฟ้าของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 12(1), 243-250.