ผลการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ที่มีต่อความสามารถการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและภาษาของเด็กวัยอนุบาล

Main Article Content

ประภาศิริ สิงห์ครุ
พอเจตน์ ธรรมศิริขวัญ
อังคณา กุลนภาดล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและภาษาของเด็กวัยอนุบาลหลังได้รับการดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือ เด็กวัยอนุบาลชาย-หญิง อายุระหว่าง 3-4 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1/1 และ 1/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนวัดโสธรวรารามวรวิหาร อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 2 ห้องเรียน รวม 60 คน ได้มาด้วยการสุ่มแบบกลุ่ม แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน ด้วยวิธีการแบบจับคู่ เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแผนการจัดประสบการณ์กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ แบบประเมินความสามารถการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและภาษาของเด็กวัยอนุบาล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ t-test independent


ผลการวิจัยพบว่า เด็กวัยอนุบาลกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์มีค่าเฉลี่ยความสามารถการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและการใช้ภาษาสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2551). รูปแบบการเรียนการสอนปฐมวัยศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กฤษณา รักนุช. (2560). การพัฒนากิจกรรมสร้างสรรค์ตามแนวคิดของ Gesell เพื่อพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของนักเรียนระดับปฐมวัย. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต).

จีรวรรณ นนทะชัย. (2555). ความสามารถทางด้านการพูดของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์เล่านิทานประกอบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์การวาดภาพ. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

ณภัทสรณ์ นรกิจ. (2555). ความสามารถในการใช้มือของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยเมล็ดพืช. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการศึกษาปฐมวัย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

ดวงฤทัย คำพะรัก, นนทชนนปภพ ปาลินทร, ทองสุข วันแสน และศิริพร อยู่ประเสริฐ. (2562). การพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัย โดยใช้กิจกรรมการปั้นสร้างสรรค์. วารสารแสงอิสาน, 16(2), 484-498.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาศาสตร์.

บุญธรรม โสภา. (2556). การใช้กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์จากวัสดุในท้องถิ่นเพื่อพัฒนาความสัมพันธ์กล้ามเนื้อมือกับตาเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตมหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

บุหลง ศุภศิลป์. (2559). รูปแบบการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์แบบบูรณาการเพื่อเสริมสร้างความสามารถทางการฟัง การพูดภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์).

ประสาท เนืองเฉลิม. (2556). วิจัยการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปิ่นทอง นันทะลาด (2560). ศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย. อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

ผกากานต์ น้อยเนียม. (2556). ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กอายุ 4-5 ปี ที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยดิน. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

พรพิไล เลิศวิชา. (2557). แผนการสอนปฐมวัย Best practices แผนการสอนที่สอดคล้องกับพัฒนาการทางสมองของเด็ก. เชียงใหม่: บริษัทธารปัญญา จำกัด.

พิชญาดา ธาตุอินจันทร์. (2553). การใช้นิทานภาพประกอบการปั้นเพื่อพัฒนาทักษะการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาประถมศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

รวิพร ผาด่าน. (2557). ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์การฉีก ตัด ปะเศษวัสดุ. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

วิจิตรา วิเศษสมบัติ. (2555). การศึกษาความพร้อมทางภาษาด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ความคิดรวบยอดประกอบการสนทนาในกิจกรรมการปั้น. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

วิไล กระจับเงิน. (2562). การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยการปั้นนูนต่ำ เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กสำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, 2(2), 171-180.

ศิรประภา พฤทธิกุล. (2560). นวัตกรรมการศึกษาวอลดอร์ฟในระดับชั้นอนุบาล. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สรวงพร กุศลส่ง. (2553). สุนทรีนภาพทางศิลปะระดับฐมวัย. เพชรบูรณ์: ดีดีการพิมพ์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. สืบค้นจาก http://backoffice.onec.go.th/uploaded/Outstand/2017-EdPlan60-79.pdf

สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์. (2553). การวัดและประเมินแนวใหม่: เด็กปฐมวัย (ปรับปรุงแก้ไข). กรุงเทพฯ: ดอกหญ้าวิชาการ.

สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์. (2556). การวัดและประเมินแนวใหม่: เด็กปฐมวัย (ปรับปรุงแก้ไข). กรุงเทพฯ: บารากัซ.

อรภัทรกาญจน์ ชัยวัฒน์จตุพร. (2559). การศึกษาการเร่งผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยการใช้นิทานประกอบการปั้น. วารสารวิชาการศรีประทุม, 13(2), 110-118.

อรภัทรกาญจน์ ชัยวัฒน์จตุพร. (2561). การศึกษาการเร่งผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยใช้งานสร้างสรรค์ผ่านวิธีการเล่านิทานและการปั้นดิน. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 12(1), 1-11.

อังคณา กุลนภาดล. (2559). การวิจัยทางการศึกษาและการวิจัยในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล กรุ๊ป.

อาทิตยา วงศ์มณี. (2554). ทำการวิจัยเรื่อง ผลของการจัดกิจกรรมการปั้นที่มีต่อทักษะกล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัย. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาปฐมวัยศึกษา มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์).

อารีย์ คำสังฆะ. (2554). การส่งเสริมความเข้าใจภาษาของเด็กปฐมวัยโดยผู้ปกครองใช้ชุดกิจกรรม “เล่นกับลูกปลูกภาษา”. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

Filipenko, M. (2006). Narrative, imaginary play, art, and self: Intersecting words. Early Childhood Education Journal, (34), 278-289.