การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรครู โรงเรียนในสังกัดเมืองพัทยา ด้านการวิจัยด้วยกระบวนการวิจัย เชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

Main Article Content

อิสริญญา ฉิมพลี
พงศ์เทพ จิระโร
สมศักดิ์ ลิลา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการวิจัยของบุคลากรครูโรงเรียนในสังกัดเมืองพัทยา  2) เพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรครูโรงเรียนในสังกัดเมืองพัทยาด้านการวิจัยด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และ 3) เพื่อประเมินรูปแบบการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรครูโรงเรียนในสังกัดเมืองพัทยาด้านการวิจัยด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม การดำเนินการแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพการวิจัยของบุคลากรครูโรงเรียนในสังกัดเมืองพัทยา กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรครูโรงเรียนในสังกัดเมืองพัทยาจำนวน 231 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและพัฒนารูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เต็มใจให้ข้อมูล จำนวน 14 คน ขั้นตอนที่ 3 การประเมินรูปแบบ โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสนทนากลุ่ม แบบประเมินรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์ความถี่  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีความต้องการ การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวน  การวิเคราะห์เนื้อหา และการวิเคราะห์ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอร์ไทล์


              ผลการวิจัยปรากฏ  ดังนี้


  1. สภาพความรู้ของบุคลากรครูโรงเรียนในสังกัดเมืองพัทยาส่วนมากมีระดับคะแนนต่ำกว่าร้อยละ 50 ของคะแนนเต็ม มีทัศนคติต่อการวิจัยอยู่ในระดับมาก มีระดับปฏิบัติการวิจัยอยู่ในระดับปานกลาง มีความคาดหวังต่อสภาพปฏิบัติการวิจัยอยู่ในระดับมากที่สุด มีดัชนีความต้องการด้านการพัฒนาศักยภาพการวิจัยมากที่สุด และมีความรู้ ทัศนคติ และสภาพปฏิบัติการวิจัยแตกต่างกันตามสภาพส่วนบุคลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  2. รูปแบบการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรครูโรงเรียนในสังกัดเมืองพัทยาด้านการวิจัยด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีองค์ประกอบ 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นร่วมวางแผนเตรียมการ (Plan)  2) ขั้นร่วมสร้างกิจกรรมพัฒนา (Action and Observe) 3) ขั้นร่วมติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่องเพื่อปรับปรุง (Reflect) 4) การสนับสนุนปัจจัยที่บุคลากรครูต้องการด้านการวิจัยจากต้นสังกัดทุกขั้นตอน (Input)

  3. ผลการประเมินรูปแบบการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรครูโรงเรียนในสังกัดเมืองพัทยาด้านการวิจัยด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นสอดคล้องกับความเป็นประโยชน์ ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความถูกต้อง อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
ฉิมพลี อ., จิระโร พ., & ลิลา ส. (2017). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรครู โรงเรียนในสังกัดเมืองพัทยา ด้านการวิจัยด้วยกระบวนการวิจัย เชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. วารสารบัณฑิตวิจัย, 8(2), 15–35. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/banditvijai/article/view/107101
บท
บทความวิจัย

References

จริยา เอียบสกุล. (2555). กระบวนการส่งเสริมงานวิจัยในสถานศึกษา. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 22(2), 367-376.

จำเริญ จิตรหลัง. (2558). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1. สืบค้นจาก https://www.trg1.obec.go.th/news_file/p

ฉลอม ชูยิ้ม. (2557). การพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูในการสร้างข้อสอบ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (ปริญญานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาทางการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามพิษณุโลก).

ชัชวาลย์ ทัตศิวัช. (2558). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research-PAR): มิติใหม่ของรูปแบบวิธีวิจัยเพื่อการพัฒนาชุมชนระดับท้องถิ่น. สืบค้นจาก https://www.mgts.lpru.ac.thmgtskmpic

เติมศักดิ์ คทวณิช. (2546). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2554). การวิจัยการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พงศ์เทพ จิระโร. (2559). หลักการวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 7). ชลบุรี: บัณฑิตเอกสาร.

ภัทราพร เกษสังข์. (2551). การพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 1 โดยการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม: กรณีศึกษากลุ่มคุณภาพหาดนาแก้ว. คณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

ภุชงค์ บุญอภัย. (2557). รูปแบบการพัฒนาครูผู้สอนกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์โรงเรียนประถมศึกษา : กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านมะขาม (สาครมะขามราษฎร์)จังหวัดจันทบุรี. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา, 8(1), 108-113.

รัตติมา โสภาคะยัง. (2556). การพัฒนาศักยภาพครูด้านการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนบ้านห้วยกอก 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 10(49), 27-33.

โรงเรียนเมืองพัทยา 7 (บ้านหนองพังแค). (2554). รายงานการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รอบสาม). ชลบุรี: โรงเรียนเมืองพัทยา 7 (บ้านหนองพังแค).

วิไลวรรณ จันน้ำใส. (2555). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาเทคโนโลยีการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).

ศศิกาญจน์ ทวิสุวรรณ. (2553). จิตวิทยาการเรียนรู้กับการศึกษานอกระบบ หน่วยที่ 13 ในเอกสารการสอนชุดวิชา จิตวิทยาและวิทยาการเรียนรู้. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช.

สมโภชน์ เอนกสุข. (2548). การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. วารสารวิจัยและวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา, 3(1), 18 – 31.

สิรินภา กิจเกื้อกูล. (2553). การสังเคราะห์รูปแบบการพัฒนาครูตามแนวปฏิรูป:ประสบการณ์จากวิทยานิพนธ์ พุทธศักราช 2543 – 2551. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 12(2), 46-59.

สุธาภรณ์ วรกาญจนกุล. (2556). กระบวนการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษาอำเภอ กำแพงแสน จังหวัดนครปฐม. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย).

สุปรียา สิทธิกุล. (2553). การพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการวิจัยแบบมีส่วนร่วมทางด้านกีฬาและ สุขภาพเพื่อพัฒนาคนและสังคมอย่างมีคุณภาพในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารวิชาการสถาบันการพลศึกษา, 2(2), 59 – 66.

สุพรรณี สินโพธิ์ .(2546). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถภาพการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูประถมศึกษาโดยใช้การวิเคราะห์โมเดลเชิงเส้นตรงระดับลดหลั่น. (วิทยานิพนธ์ครุศาตรมหาบัณฑิต, สาขาวิจัยการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

สุวิมล ว่องวานิช. (2547). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิมล ว่องวานิช, ชยุตม์ ภิรมย์สมบัติ, ศศิธร เขียวกอ, สร้อยสน สกลรักษ์ และสมพงษ์ ปั้นหุ่น. (2556). ประชุมวิชาการประจำปี พ.ศ. 2556 (ปีที่ 3) การเสนอผลงานวิจัยในโครงการวิจัย เรื่อง การวิจัยและพัฒนากลยุทธ์การขับเคลื่อนนโยบายปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

อรอุมา รุ่งเรืองวณิชกุล. (2556). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะครูนักวิจัยด้วยการบูรณาการกระบวนการเรียนรู้สำหรับข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. (ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการศึกษาผู้ใหญ่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

Knowles, M. S. (1975). Self-direted Learning. A Guide For Learners and Teachers. New York: Association Press.

Yamane, T. (1967). Statistics, An Introductory Analysis. (2nd ed). New York: Harper and Row.