การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี หน่วยการเรียนรู้ รู้จักธุรกิจสร้างรายได้ใช้จ่ายอย่างประหยัดและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ “อยู่อย่างพอเพียง” โดยใช้การบันทึกรายรับ-รายจ่ายของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี หน่วยการเรียนรู้ รู้จักธุรกิจสร้างรายได้ใช้จ่ายอย่างประหยัด และ 2) เพื่อศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์อยู่อย่างพอเพียง กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 39 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้และแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี หน่วยการเรียนรู้ รู้จักธุรกิจสร้างรายได้ใช้จ่ายอย่างประหยัด และสมุดบันทึกรายรับ-รายจ่าย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วย t-test แบบ Dependent samples
ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี หน่วยการเรียนรู้ รู้จักธุรกิจสร้างรายได้ใช้จ่ายอย่างประหยัดหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 2) นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์อยู่ “อย่างพอเพียง” มีวินัยทางการเงิน ใช้เงินอย่างมีเหตุผลและมีการออมเงิน
Article Details
References
เกษม วัฒนชัย. (2563). ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตและบริหารพัฒนาองค์กร. สืบค้นจาก http://social.nesdc.go.th/social/Portals/0/Documents
กันตาภา สุทธิอาจ. (2561). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบเน้นประสบการณ์ตามสภาพจริง เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะการเรียนด้วยการนำตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์).
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
จงกล เขียนปัญญา. (2561). การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชา การงานอาชีพและเทคโนโลยี ขั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนโนโพธิ์ศรีวิทยาคม. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 5(2), 127-136.
ชุติมนต์ กระแสสินธุ์ และ อินทิรา รอบรู้. (2561). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้บทเรียนมัลติมีเดีย โรงเรียนอนุบาลเนินมะขาม อำเภอเนินขาม จังหวัดชัยนาท. วารสารชุมชนวิจัย, 12(3), 222-230.
ดาวรถา วีระพันธ์ และชยาภา บาลไธสง. (2560). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11(3), 52-63.
ณทิพรดา ไชศิลป์ แก่นเพชร แฝงสีผล วิชิต นาชัยสิทธิ์ พรชัย วันทุม และวราวุธ ธารสะอาด (2561). การเสริมสร้างการออมนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษารายวิชาเศรษฐศาสตร์. MBU Education Journal: Faculty of Education Mahamakul Buddhist University, 6(2), 517-529.
ไทยรัฐออนไลน์. (2562). พบคนไทยมีหนี้ท่วมหัวตั้งแต่เด็กยันแก่ แม้มีรายได้เพิ่มแต่หนี้ไม่ลดแถมไม่ออม. สืบค้นจาก https://www.thai rath.co.th/news/business/1730320
มนัสนันท์ คำตัน. (2017). การพัฒนาตัวชี้วัดคุณลักษณะความพอเพียงตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย. วารสารวิจัยกาสะลองคำ, 11(2), 35-48.
บูรฉัตร จันทร์แดง เสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร และสัญญา เคนาภูมิ. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม. Dhammathas Academic Journal, 19(4), 235-244.
ปาริชาติ มณีมัย ชลันธร ศรีธรมโชติ ภัทรพล วรรณราช และระวิวรรณ สุขภิลาพ. (2561). การจัดทำบัญชีตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง: กรณีเกษตรกรในพื้นที่โครงการส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ตำบลนาข้าวเสีย อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง. Journal of Social Development, 20(2), 17-33.
ปาริชาติ โยตะสิงห์ ศิริลักษณ์ มูลย์มาตย์ ณัฐริกา ทับภูตา ชลทิพย์ ทารินไสล และจันจิรา อำนาจเจริญ. (2563). การศึกษาพฤติกรรมและสภาพปัญหาการจัดทำบัญชีครัวเรือนตามแนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง: กรณีศึกษาชุมชนบ้านเต่าน้อย ตำบลพระธาตุบังพาน อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย. อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
ยุวดี ทองอ่อน. (2561). Active learning: การเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วม. วารสารการจัดการความรู้, 1(1), 1-7.
วันวิสาข์ ชาญณรงค์ และอารีย์ ปรีดีกุล. (2560). การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
เรื่องการจัดสานไม้ไผ่ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดดานคุรุราษฎ์อุทิศ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 11(2), 94-105.
ศักดิ์นคร สีหอแก้ว. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนทักษะงานช่างพื้นฐาน ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษา พิษณุโลก เขต 1. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 10(1), 109-128.
ศิริมา เนตรสุวรรณ. (2562). การทำบันทึกรายรับ-รายจ่ายส่วนตัว ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 รายวิชากลุ่มบูรณาการ แกนหลักการงานอาชีพและเทคโนโลยี. สืบค้นจาก https://www.dltv.ac.th/teachplan/episode/20320.
สถาบันสังคมศึกษา สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา และสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาความรู้ความเข้าใจการสร้างวินัยทางการเงินในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มภาคเหนือและภาคตะวะนออกเฉียงเหนือ 16-19 กรกฎาคม 2559 ณ โรงแรมคุ้มภูคำ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: สถาบันสังคมศึกษา สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา และสำนักงานคณะกรรมการdการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สาวิณี จันทร์เย็น. (2561). การบันทึกรายรับรายจ่าย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 รายวิชากลุ่มบูรณาการ แกนหลักสังคมศึกษา. สืบค้นจาก https://www.dltv.ac.th/teachplan/episode/26815.
สุรภี ประชุมพล. (2561). การเรียนรู้แบบ Active learning ในยุคสมัย Thailand 4.0. วารสารการจัดการความรู้, 1(1), 45-53.
อัญญรัตน์ นาเมือง, สุวรรณี ยทะกร, สิริวรรณ ศรีพหล และ ไพรัช สู่แสนสุข. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา. Princess of Naradhiwas University Journal, 5(3), 96-109.
อรุณศรี แซ่จิ้ว. (2563). การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การนำเสนอผลงาน โครงการโรงเรียนสุจริต (กิจกรรมการถอดบทเรียน Best Practice ของครู การพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ “อยู่อย่างพอเพียง”. ตรัง: โรงเรียนวัดเขาวิเศษ.
เอกณรงค์ เรืองรัตน์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมและแนวทางการส่งเสริมการจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายในครัวเรือนของคนทำงานในเขตบางกะปิ จังหวัดกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระ บัญชีมหาบัณฑิต, สาขาวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย).
อำไพวัลย์ คำแดง. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD ด้วยชุดการเรียนเรื่อง การประดิษฐ์งานใบตอง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี วิชางานประดิษฐ์ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. สืบค้นจาก https://www.kroobannok.com/board_view.php?b_id=168221&bcat_id=15
Gold, L. A. (2016). Financial literacy in the elementary classroom: Integrate not recreate. Ohio Journal of School Mathematics, 79(1), 38-42.
Cornelius-Ukpepi, B. U., Aglazor, G. N., and Odey, C. O. (2016). Cooperative learning strategy as tool for classroom management. Advanced in Multidisciplinary and Scientific Research, 2(2), 67-76.
Sharif, S. P. and Naghavi, N. (2020). Family financial socialization, financial information seeking behavior and financial literacy among youth. Asia-Pacific Journal of Business Administration. Retrieved from file:///C:/ Users/5459/Downloads/Familyfinancialsocializationfinancialinformationseekingbehaviorandfinancialliteracyamongyouth.pdf