ผลการออกกำลังกายแบบแอโรบิกด้วยโปรแกรมฝึกแบบวงจร ที่มีต่อสมรรถภาพทางกายของเด็กชายอายุ 9 ปี ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน

Main Article Content

หทัยชนก เสาร์แก้ว
ไพบูลย์ ศรีชัยสวัสดิ์
วัฒนา สุทธิพันธุ์
ขจร ตรีโสภณากร

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลการออกกำลังกายแบบแอโรบิกด้วยโปรแกรมฝึกแบบวงจรที่มีต่อสมรรถภาพทางกายของเด็กชายอายุ 9 ปีที่มีภาวะน้ำหนักเกิน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชายระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน จำนวน 30 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมการฝึกแบบวงจร และแบบทดสอบสมรรถภาพทางกายที่ดัดแปลงจากแบบทดสอบสมรรถภาพทางกายสําหรับเด็กไทย อายุ 7 -18 ปี ของกรมพลศึกษา ปี พ.ศ.2555 ประกอบด้วย 5 รายการ ได้แก่ ดัชนีมวลกาย นั่งงอตัวไปข้างหน้า ดันพื้น 30 วินาที ลุกนั่ง 60 วินาที และวิ่งระยะไกล 600 เมตร/ วินาที วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (One way ANOVA with repeated) และทดสอบความแตกต่างของเป็นรายคู่ โดยวิธีของบอนเฟอโรนี (Bonferroni’s Method)

ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการทดสอบสมรรถภาพทางกายของกลุ่มตัวอย่าง ภายหลังการออกกำลังกายแบบแอโรบิกด้วยโปรแกรมฝึกแบบวงจรดีขึ้นกว่าก่อนการฝึก และเมื่อเปรียบเทียบผลการออกกำลังกายแบบแอโรบิกด้วยโปรแกรมการฝึกแบบวงจรที่มีต่อสมรรถภาพทางกาย พบว่า หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 2, 4, 6 และ 8 กลุ่มตัวอย่างมีสมรรถภาพทางกายดีขึ้นก่อนการฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05

 

THE EFFECT OF AEROBIC EXERCISE BY CIRCUIT TRAINING PROGRAM ON THE PHYSICAL FITNESS OF 9-YEAR-OLD OVERWEIGHT BOYS.

The purpose of this study was to compare the results of the effect of aerobic exercise by circuit training program on the physical fitness of nine year old boys who are overweight. The subjects were thirty male students in year three of primary school who are overweight. They wereselectedusingbythepurposivesampling. Theinstrumentusedin this study werean aerobicexercisebycircuit trainingprogram andphysical fitness testadaptedfrom physical fitness test for Thai children aged between seven to eighteen year old from Department of Physical Education2012 withconsistedof fiveitems:body mass index (BMI), sitandreach, sixty-second sit-ups, thirty-second push-ups and six hundred meter run. The data were analyzed by mean and standard deviation, One Way ANOVA with Repeated and a Multiple Comparison Test by Bonferroni’s method at the .05 level of significance.

The results found that after using an aerobic exercise by circuit training program, mean and standard deviation scores of results of physical fitness test had better than before training.Furthermore,acomparedtheresultsof theaerobicexercisebycircuit trainingprogram on physical fitness after training in the 2nd, 4th, 6th and 8th weeks subjects had improved physical fitness better than before training had significant different at .05

Article Details

How to Cite
เสาร์แก้ว ห., ศรีชัยสวัสดิ์ ไ., สุทธิพันธุ์ ว., & ตรีโสภณากร ข. (2016). ผลการออกกำลังกายแบบแอโรบิกด้วยโปรแกรมฝึกแบบวงจร ที่มีต่อสมรรถภาพทางกายของเด็กชายอายุ 9 ปี ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน. Journal of Graduate Research, 7(2), 223–237. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/banditvijai/article/view/96269
Section
Research Article