การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับการอ่านและการเขียนของนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนจังหวัดเชียงใหม่และแม่ฮ่องสอน : กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านใหม่พัฒนาสันติ และโรงเรียนบ้านแม่ลางิ้ว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบกระบวนการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยสำหรับชาติพันธุ์กะเหรี่ยงโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน (ภาษากะเหรี่ยง-ภาษาไทย) ที่ส่งเสริมการอ่านและเขียน 2) เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยสำหรับชาติพันธุ์กะเหรี่ยงโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน (ภาษากะเหรี่ยง-ภาษาไทย) ที่มีต่อความสามารถในการอ่านและการเขียนของนักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน และ 3) เพื่อศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ในการสนับสนุนการดำเนินโครงการเพื่อยกระดับการอ่านและเขียนของนักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้บริหาร ครู และนักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านใหม่พัฒนาสันติ จังหวัดเชียงใหม่ และโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านแม่ลางิ้ว จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประกอบด้วยผู้บริหาร 2 คน ครู 13 คน และนักเรียนชั้นอนุบาล 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 รวมจำนวน 79 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสังเกตการออกแบบกระบวนการจัดการเรียนการสอน แบบประเมินการอ่านและเขียนของนักเรียน และแบบสังเกตการมีส่วนร่วมในกระบวนการดำเนินงานวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และการตรวจสอบความถูกต้องการวิเคราะห์ข้อมูลแบบสามเส้า (Triangulation) และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการหาค่าเฉลี่ย
ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยสำหรับชาติพันธุ์กะเหรี่ยงโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน (ภาษากะเหรี่ยง-ภาษาไทย) ที่ส่งเสริมการอ่านและการเขียน มีลักษณะสอดคล้องกับวิถีชีวิตและส่งเสริมพัฒนาการทางสมองของเด็ก เป็นการสอนภาษาไทยที่เน้นความหมาย เรียกว่า “คาบภาษาไทยที่เน้นความหมาย โดยระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1-3 เน้นการฟังและการพูดภาษาถิ่นและภาษาไทย ส่วนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 เน้นการฟัง พูด อ่าน และเขียนภาษาไทย 2) นักเรียนของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนทั้ง 2 แห่ง ที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยสำหรับชาติพันธุ์กะเหรี่ยงมีพัฒนาการด้านการอ่านและการเขียนดีขึ้น 3) กระบวนการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ในการสนับสนุนการดำเนินโครงการเพื่อยกระดับการอ่านและเขียนของนักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ประกอบด้วยการเตรียมการ การวางแผน การปฏิบัติการสอน การติดตามประเมินผล และการสะท้อนผล
Downloads
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 33. (2561). ข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียนตำรวจตระเวน ชายแดนที่ 33. เชียงใหม่: กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 33.
ไกรศร วันละ และยุภาพร ยุภาศ. (2565). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 8(2), 391-403.
จินตวีร์ เกษมศุข. (2561). แนวคิดการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์, 26(50), 169-186.
ชนิพรรณ จาติเสถียร กันตวรรณ ไชยกาล และธิดา พิทักษ์สินสุข. (2560). การส่งเสริมความสามารถทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: บริษัท พลัสเพลส จำกัด.
ณัฏฐณิจชา พวงศรี และสุกัญญา รุจิเมธาภาส. (2565). กระบวนการนิเทศภายในแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์เขต 1. วารสารสหวิทยาการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 12(1), 1-13.
ธัญญารัตน์ ชื่นแสงจันทร์. (2563). ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทยนำไปสู่การเรียนรู้. วารสารสังคมศึกษา มมร สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 1(1), 66-78.
นันทวรรณ วัฒนวราห์. (2559). การจัดการศึกษารูปแบบทวิภาษา: เพื่อความเป็นพหุนิยมหรือเพื่อการกลืนกลาย. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาพหุวัฒนธรรมศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).
นิโลบล ทองวิเศษ, วาโร เพ็งสวัสดิ์, และอภิสิทธิ์ สมศรีสกุล. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาการอ่านและเขียนของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University, 13(2), 35-46.
พิชามญช์ จันทุรส, สิงหา จันทน์ขาว และอนันต์ มาลารัตน์. (2564). การพัฒนารายวิชาชีวิตและครอบครัวแบบบูรณาการสำหรับนักศึกษา โดยอิงบริบทเชิงวัฒนธรรมสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 16(1), 110-119.
มูลนิธิโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. (2565). ความเป็นมาของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน. สืบค้นจาก https://www.bppsf.com
มนต์นภัส มโนการณ์. (2561). การปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานกับการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์, 19(1), 1-15.
วรชัย วิภูอุปรโคตร. (2564). การจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ในการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 13(3), 320-332.
ศรชัย มุ่งไธสง, ยุพิน จันทร์เรือง, สุทัศน์ คล้ายสุวรรณ์, ปฏิพัทธ์ อุทยานุกูล, เบญจวรรณ สุขวัฒน์, วรรณวิรัตน์ ตุงคะเวทย์, และสุกัญญา ขลิบเงิน. (2560). สภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยของนักเรียนบนพื้นที่สูงกลุ่มโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 จังหวัดเชียงราย. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ, 10(พิเศษ), 9-22.
ศูนย์ศึกษาและฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมในภาวะวิกฤต สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล. (2561). หนังสือรวมบทความการจัดการศึกษาแบบทวิ-พหุภาษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้. นครปฐม: ศูนย์ศึกษาและฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมในภาวะวิกฤต สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล.
สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล. (2561). สะพานเชื่อมโยงไปสู่อนาคตอันสดใส: โครงการจัดการศึกษาแบบทวิ-พหุภาษา (ภาษาไทย-มลายูถิ่น) ในโรงเรียนเขตพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้. กรุงเทพฯ: องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ.
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. (2561). สรุปผลการสกัดโจทย์วิจัยโดยผู้บริหาร ครู หน่วยงานที่รับผิดชอบโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. (2562). ความเป็นมาของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน. สืบค้นจาก https://www.research.lru.ac.th
สุวดี อุปปินใจ, ธิดารัตน์ สุขประภาภรณ์, พูนชัย ยาวิราช, สมเกียรติ ตุ่นแก้ว, และสมบูรณ์ อริยา. (2562). รูปแบบการใช้ระบบพี่เลี้ยงและการสอนงานสำหรับการเตรียมความพร้อมและการพัฒนาอย่างเข้มของครูผู้ช่วยโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดเชียงราย. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต, 19(4), 1-13.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). ผลสอบระดับประเทศ RT ปีการศึกษา 2562. สืบค้นจาก http://180.180.244.42/NT/ExamWeb/FrLogin.aspx?ReturnUrl=%2fNT%2fExamWeb%2f
อภิรดี ไชยกาล, วรวรรณ เหมชะญาติ, และสร้อยสน สกลรักษ์. (2561). การสอนภาษาไทยเป็นภาษาที่สองสำหรับเด็กชาติพันธุ์เขมรถิ่นไทย. Journal of Mekong Societies, 14(1), 109-132.
อิชยา กองไชย. (2565). การจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. 8(6), 443-450.
Tannnenbaum, M. & Har, E. (2020). Beyond basic communication: The role of the mother tongue in cognitive-behavioral therapy (CBT). International Journal of Bilingualism, 24(4), 881-892.
DeGraff, M. (2017). Mother-tongue books in Haiti: The power of Kreyòl in learning to read and in reading to learn. Prospects, 46, 435-464. doi: 10.1007 /s11125-017-9389-6
Obod, M.M., Remirez, M.N.V., Satria, E., Asmoni, A., & Indriani, D.E. (2019). Effectiveness on the use of mother tongue in teaching concepts of fraction among second grade of elementary school pupils. Journal for the Education of Gifted Young Scientists, 8(1), 291-304.