การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4

Main Article Content

วิลัยววรณ ปู่ธิรัตน์

Abstract

การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4

THE DEVELOPMENT OF ACADEMIC ADMINISTRATION IS EFFECTIVENESS MODEL IN SMALL SIZED SCHOOL UNDER UDONTHANI PRIMARY EDUCATION AREA OFFCE 4

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 2) เพื่อตรวจสอบความเหมาสมของรูปแบบการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 ระยะที่ 2 การตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูวิชาการและครูผู้สอน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 210 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) แล้วนำมาคำนวณหาค่าดัชนีความสอดคล้องของคำถาม (index of item  congruence : IOC) เลือกข้อคำถามที่มีค่าความสอดคล้อง 0.50 ขึ้นไป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย (\bar{x}) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

            ผลการวิจัย  พบว่า

                 1. รูปแบบการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานีเขต 4 ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการที่ประสบผลสำเร็จ ประกอบด้วย ด้านผู้บริหารและภาวะผู้นำ ด้านบุคลากรและการพัฒนาบุคลากร ด้านสภาพทั่วไป/สภาพแวดล้อมและด้านการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง/ชุมชน 2) กระบวนการบริหารงานวิชาการ ประกอบด้วย การวางแผน การจัดทำแผนกลยุทธ์ การปฏิบัติงานตามแผนกลยุทธ์และการตรวจสอบและประเมินผล 3) ขอบข่ายการบริหารงานวิชาการ ประกอบด้วย ด้านการจัดการเรียนการสอน การพัฒนาหลักสูตร การวัดผลประเมินผลและดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา การนิเทศการศึกษาและการพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีทางการศึกษา

                 2. ผลการตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 พบว่า มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมาก

 

ABSTRACT

            The objective of this research were 1) to develop an effective academic administrative model for small sized schools under the office of Udonthani primary education service area office 4, 2) to validate an effective academic administrative model for small sized schools under the office of Udonthani primary education service area 4. The study was conducted in two phases. The first phase was to develop an effective academic administrative model for small sized schools under the office of Udonthani primary education service area office 4. The second phase was to validate the appropriateness of an effective academic administrative model for small sized schoolsunder the office of Udonthani primary education service area office 4. The participants of this research were 210 administrators, academic teachers and teachers in schools under the office of Udonthani primary education service area in academic year 2015 selected by multistage sampling. The research in strument was a five rating scale questionnaire by checking content validity, index of item congruence at 0.50. The statistics used were percentage, mean and standard deviation.

            The finding results were as follows:

                 The components of an effective academic administrative model for small sized schools under the office of Udonthani primary education service area office 4 included 3 major components were factors effects a change in effective academic administrative consisted of school administrators and leadership, teachers and teachers’ development, general condition and students’ family or community; academic administrative management consisted of planning, strategic plan development, implementing a strategic plan and monitoring, performance evaluation; scope of academic administrative management consisted of teaching management, curriculum development, evaluation and credit transfer, research development in school, mentoring and using educational technology.

                 The result of academic administrative management model for small sized schools under the office of Udonthani primary educational service area office 4 were considered appropriate at a high level.


 

Article Details

Section
บทความวิจัย