การพัฒนาแนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะด้านการพัฒนาตนเองของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4

Main Article Content

เบญจมินทร์ โคตรสุโน

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดของสมรรถนะด้านการพัฒนาตนเองของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4  2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ของสมรรถนะด้านการพัฒนาตนเองของครู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานีเขต 4 และ 3) เพื่อพัฒนาแนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะด้านการพัฒนาตนเองของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ ครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 จำนวน 304 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ แบบบันทึกข้อมูลการสนทนากลุ่มและแบบประเมินความสอดคล้อง ความเหมาะสม และความเป็นไปได้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยปรากฏผลดังนี้

  1. องค์ประกอบและตัวชี้วัดของสมรรถนะด้านการพัฒนาตนเองของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 มีจำนวน 6 องค์ประกอบ และ 36 ตัวชี้วัด
  2. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันของสมรรถนะด้านการพัฒนาตนเองของครู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานีเขต 4  พบว่า พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการแสวงหาและการใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา รองลงมาคือ ด้านการปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ ด้านการพัฒนาตนเองของครูในลักษณะอื่น ด้านการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและสร้างเครือข่าย ด้านการสำรวจและประเมินตนเองของครู ด้านการสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมในการพัฒนาองค์กร และวิชาชีพ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ ติดตามองค์ความรู้ใหม่ๆ ทางวิชาการและวิชาชีพ

            ผลการศึกษาสภาพที่พึงประสงค์ของสมรรถนะด้านการพัฒนาตนเองของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมในการพัฒนาองค์กรและวิชาชีพ รองลงมาคือ ด้านการสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมในการพัฒนาองค์กรและวิชาชีพ ด้านการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและสร้างเครือข่าย ด้านการปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ ด้านการสำรวจและประเมินตนเองของครู และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการพัฒนาตนเองของครูในลักษณะอื่น

         3. ผลการวิเคราะห์ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นปรับปรุง (PNI modified) ในการเสริมสร้างสมรรถนะด้านการพัฒนาตนเองของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 โดยเรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านที่มีดัชนีความจำเป็นมากที่สุด คือ ด้านการสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมในการพัฒนาองค์กรและวิชาชีพ รองลงมาคือ ด้านการสำรวจและประเมินตนเองของครู ด้านการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและสร้างเครือข่าย ด้านการศึกษาค้นคว้า ติดตามความรู้และข่าวสารใหม่ๆ ทางวิชาการ ด้านการพัฒนาตนเองของครูในลักษณะอื่น และด้านการปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูสม่ำเสมอ

         4. ผลการพัฒนาแนวทางทางการเสริมสร้างสมรรถนะด้านการพัฒนาตนเองของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 ประกอบด้วย 6 แนวทาง ได้แก่ แนวทางการสำรวจและประเมินตนเองของครู แนวทางการศึกษาค้นคว้า ติดตามความรู้และข่าวสารใหม่ๆ ทางวิชาการ แนวทางการสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมในการพัฒนาองค์กรและวิชาชีพ แนวทางการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและสร้างเครือข่าย   แนวทางการปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพสม่ำเสมอ  และแนวทางการพัฒนาตนเองของครูในลักษณะอื่น

         5. ผลการประเมินแนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะด้านการพัฒนาตนเองของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 พบว่า โดยรวมมีความเหมาะสม และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกแนวทางมีความเหมาะสม และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นเดียวกัน

Article Details

Section
บทความวิจัย