การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการบำรุงรักษาทางหลวงหมายเลข 8 เมืองคำเกิด แขวงบอลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชนชนลาว
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการบำรุงรักษาทางหลวงหมายเลข 8 เมืองคำเกิด แขวงบอลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชนชนลาว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นประชาชนที่อาศัยในเขตเมืองคำเกิด แขวงบอลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชนชนลาว จำนวน 390 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ .81 และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
ผลการวิจัยพบว่า
1. การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการบำรุงรักษาทางหลวงหมายเลข 8 เมืองคำเกิด แขวงบอลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชนชนลาว ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการรับประโยชน์ (= 2.70) อยู่ในระดับปานกลาง รองลงมาคือ ด้านการร่วมในการปฏิบัติการ (= 2.61) อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการร่วมคิด ตัดสินใจ และด้านการร่วมประเมินผล (= 2.47) อยู่ในระดับน้อย
2. การเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการบำรุงรักษาทางหลวงหมายเลข 8 เมืองคำเกิด แขวงบอลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชนชนลาว ตามคุณลักษณะส่วนบุคคล สามารถสรุปผลได้ดังนี้
2.1 จำแนกตามคุณลักษณะด้านเพศ พบว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการบำรุงรักษาทางหลวงหมายเลข 8 เมืองคำเกิด แขวงบอลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชนชนลาว ในภาพรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน
2.2 จำแนกตามคุณลักษณะด้านอายุ พบว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการบำรุงรักษาทางหลวงหมายเลข 8 เมืองคำเกิด แขวงบอลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชนชนลาว ในภาพรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.3 จำแนกตามคุณลักษณะด้านระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ พบว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการบำรุงรักษาทางหลวงหมายเลข 8 เมืองคำเกิด แขวงบอลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชนชนลาว ในภาพรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
ABSTRACT
The purpose of this study was to investigate people’s participation in maintenance of Laos National Highway 8, Khamkeut district, Bolikhamxay province, Lao People’s Democratic Republic (Lao PDR). A sample used in study was 390 people who lived in the Khamkeut district area, Bolikhamxay province, Lao PDR. The instrument used in data collection was a questionnaire which had the entirereliability coefficient of .81. Statistics used in data collection were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test and one-way ANOVA.
Findings of the study were as follows:
- People’s participation in maintenance of Laos National Highway 8,
Khamkeut district, Bolikhamxay province, Lao PDR as a whole was at moderate level. As it was considered by aspect, the aspect that gained the highest mean score was of receiving benefit (= 2.70) which was at moderate level, followed by the aspect of participation in operating (=2.61) which was at moderate level. The aspects that gained the lowest mean score were of participation in decision-making and of participation in assessment (= 2.47) which were at low level.
- The comparisons of people’s participation in maintenance of Laos
National Highway 8, Khamkeut district, Bolikhamxay province, Lao PDR according to personal backgrounds can be concluded as follows:
2.1As classified by background of sex, it showed that people’s
participation in maintenance of Laos National Highway 8, Khamkeut district, Bolikhamxay province, Lao PDR as a whole and as each aspect was found not different.
2.2 As classified by background of age, it showed that people’s
participation in maintenance of Laos National Highway 8, Khamkeut district, Bolikhamxay province, Lao PDR as a whole and as each aspect was found significantly different at the .05 level.
2.3 As classified by backgrounds of educational attainment, occupation,
average income per month, and length of time living in the area, it showed that people’s participation in maintenance of Laos National Highway 8, Khamkeut district, Bolikhamxay province, Lao PDR as a whole and as each aspect was found significantly different at the .01 level.
Article Details
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร