ประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นบุคลากรขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร จำนวน 230 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ .94 และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร ในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน ( = 3.41) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการจัดหาพัสดุ ( = 3.49) อยู่ในระดับปานกลาง รองลงมาคือ ด้านการควบคุมพัสดุ ( = 3.47) อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการวางแผนกำหนดความต้องการพัสดุ ( = 3.24) อยู่ในระดับปานกลาง
2. การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร ตามคุณลักษณะส่วนบุคคล สามารถสรุปผลได้ดังนี้
2.1 จำแนกตามคุณลักษณะด้านเพศ ระยะเวลาการปฏิบัติงาน ตำแหน่ง และระดับการศึกษา พบว่า ประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร ในภาพรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน
2.2 จำแนกตามคุณลักษณะด้านอายุ พบว่า ประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร ในภาพรวมและรายด้าน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.3 จำแนกตามคุณลักษณะด้านส่วนราชการ พบว่า ประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุ
ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร ในภาพรวมและรายด้าน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร ที่ควรนำไปศึกษาหาแนวทางพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร คือ ด้านการวางแผนกำหนดความต้องการพัสดุ
ABSTRACT
The purpose of this study was to investigate efficiency of supply management of the Sakon Nakhon Provincial Administration Organization. A sample used in the study was 230 personnel of the Sakon Nakhon Provincial Administration Organization. The instrument used for data collection was a questionnaire whose entire reliability coefficient was .94. Statistics used in data collection were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, and one-way ANOVA.
The findings of study were as follows:
1. Efficiency of supply management of the Sakon Nakhon Provincial Administration Organization as a whole was at moderate level ( = 3.41). Considering it by aspect, the aspect that gained the highest mean score was of supply procurement ( =3.49) which was at moderate level, followed by the aspect of controlling supply ( =3.47) which was at moderate level. The aspect that gained the lowest mean score was of planning to specify the need of supply ( = 3.24) which was at moderate level.
2. The comparisons of supply management efficiency of the Sakon Nakhon
Provincial Administration Organization according to personal background can be concluded as follows:
2.1 As classified by sex, work experience, job position, and educational
attainment, it showed that efficiency of supply management of the Sakon Nakhon Provincial
Administration Organization as a whole and each aspect was found not different.
2.2 As classified by age, it showed that efficiency of supply management of the Sakon Nakhon Provincial Administration Organization as a whole and each aspect was found significantly different at the .05 level.
2.3 As classified by official division of work, it showed that efficiency of supply management of the Sakon Nakhon Provincial Administration Organization as a whole and each aspect was found significantly different at the .01 level.
3. The efficiency of supply management of the Sakon Nakhon Provincial
Administration Organization that should be brought to examine to find a way to the development of supply management efficiency of the Sakon Nakhon Provincial Administration Organization is the aspect of planning to specify the need of supply.
Article Details
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร