พัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3

Main Article Content

พัชนี กาสุริย์

Abstract

พัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร  เขต  3


THE DEVELOPMENT OF KNOWLEDGE MANAGMENT MODEL IN EDACATIONAL OPPORTUNTY EXTENSION SCHOOLS UNDER SAKON NAKHON PRIMARY EDUCATION SERVICE AREA OFFICE 3


บทคัดย่อ      


            การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาและตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการความรู้ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบ โดยศึกษาแนวคิดทฤษฎี และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ศึกษาโรงเรียนดีเด่น  จำนวน 1 โรงเรียน และนำร่างกรอบแนวคิดการวิจัยไปให้ผู้เชี่ยวชาญ 5 คนพิจารณา ระยะที่ 2 การตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.50-0.98 และค่าความเชื่อมั่น 0.98 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 275 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage), ค่าเฉลี่ย () และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)     ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 มีทั้งหมด 3 องค์ประกอบ คือ 1) ปัจจัยสู่ความสำเร็จของการจัดการความรู้ ประกอบด้วย ภาวะผู้นำ โครงสร้างพื้นฐาน การยกย่องและให้รางวัลวัฒนธรรมองค์กร บุคคลและชุมชน และเทคโนโลยีสารสนเทศ  2) กระบวนการจัดการความรู้ ประกอบด้วย การกำหนดความรู้ การแสวงหาความรู้ การแลกเปลี่ยนความรู้ การประมวลและกลั่นกรองความรู้ การจัดความรู้ให้เป็นระบบ การสร้างความรู้ และการนำความรู้ไปใช้ 3) เป้าหมายของการจัดการความรู้ ประกอบด้วย คุณภาพงาน คุณภาพคน และองค์การแห่งการเรียนรู้  2. ผลการตรวจสอบความเหมาะสมการพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 พบว่า มีความเหมาะสมโดยรวมในระดับมาก (=4.22)     

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biography

พัชนี กาสุริย์, Sakon Nakhon Rajabhat Unibersity

นักศึกษาปริญญาโท  สาขานวัตกรรมการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร