ความเครียดทางกีฬาของนักกีฬาตะกร้อลอดห่วงในระดับเยาวชน
Main Article Content
Abstract
การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายของการวิจัยเพื่อศึกษาความเครียดทางกีฬาของนักกีฬาตะกร้อลอดห่วงในระดับเยาวชน โดยใช้วิธีการศึกษาวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) โดยศึกษาความเครียดทางกีฬาแบ่งออกเป็นทั้งหมด 3 ช่วงได้แก่ การศึกษาความเครียดทางกีฬาก่อนการแข่งขัน การศึกษาความเครียดทางกีฬาระหว่างการแข่งขัน และการศึกษาความเครียดทางกีฬาหลังการแข่งขัน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักกีฬาตะกร้อลอดห่วงระดับเยาวชน ในสังกัดของโรงเรียนธาตุพนม ตำบลธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม จำนวนทั้งสิ้น 20 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ความเครียดทางกีฬาของนักกีฬาตะกร้อลอดห่วงในระดับเยาวชน โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth interviews)
การวิเคราะห์ข้อมูลข้อมูลเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย 1. การวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) 2. การทำดัชนีข้อมูล 3. การทำข้อสรุปชั่วคราวและการตรวจสอบข้อมูล และ 4. สรุปและยืนยันผล
ผลการวิจัยพบว่า
- ความเครียดก่อนทำการแข่งขัน สาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียด คือ ความคาดหวังและความต้องการที่จะเป็นผู้
ชนะในการแข่งขัน จึงทำให้เกิดความกดดันในสถานการณ์นั้นๆ และความคาดหวังเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้นักกีฬาเกิดความเครียด
- ความเครียดระหว่างการแข่งขันประกอบด้วย การรับรู้ถึงการทำแต้มของคู่แข่งขัน และความกดดันของ
ผู้ฝึกสอน เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้นักกีฬาเกิดความเครียดตามลำดับ
- ความเครียดหลังการแข่งขัน คือ การเล่นที่ไม่ได้ตามมาตรฐานของตนเอง เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้นักกีฬาเกิด
ความเครียด
Article Details
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร