ภาวะผู้นำทางวิชาการกับองค์การแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียน
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการกับองค์การแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียน ประชากร จำนวน 2,422 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 296 คน และครูผู้สอน จำนวน 1,918 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 645 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 215 คน และครูผู้สอน จำนวน 430 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า ด้านภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.73 และด้านองค์การแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียน มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.70 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีและการทดสอบค่าเอฟ สถิติที่ใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า
1. ภาวะผู้นำทางวิชาการ และองค์การแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียน อยู่ในระดับมากทั้งสองด้าน
2. ภาวะผู้นำทางวิชาการ และองค์การแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 และ .05 ตามลำดับ
3. ภาวะผู้นำทางวิชาการ และองค์การแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอนในโรงเรียนขนาดแตกต่างกัน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน
4. ภาวะผู้นำทางวิชาการกับองค์การแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียน สัมพันธ์กันในเชิงบวกอยู่ในระดับ ปานกลาง
5. ภาวะผู้นำทางวิชาการ ด้านการสนับสนุนการพัฒนาวิชาชีพโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน ด้านการสร้างและพัฒนาศักยภาพการเป็นผู้นำของบุคลากร และด้านการสร้างความมั่นใจในเกณฑ์การประเมินผล มีอำนาจพยากรณ์องค์การแห่งการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยทั้ง 3 ด้าน มีค่าอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 21.90 และค่าความคลาดเคลื่อนของการพยากรณ์ .18
คำสำคัญ : องค์การแห่งการเรียนรู้,การพัฒนาองค์การ , โรงเรียนประถมศึกษา
ABSTRACT
The purpose of this research was to investigate the academic leadership and the learning organization of school administrators. The populations of the study were school 296 administrators, 1,918 teachers. Samples of the study were 215 school administrators and 430 teachers, selected by multistage sampling. The tool used to collect the data was a rating scale The reliability of academic leadership organization was 0.73, the reliability of the learning organization of school administrators was 0.70. The statistics for the analysis were percentage, mean, standard deviation, t-test, and F-test. Pearson’s Coefficient of Correlation and multiple regression analysis were also conducted.
The results of this research are as follows;
1. The academic leadership and The learning organization development of school administrators were found at high level.
2. The opinions of the administrators and teachers about the academic leadership and the learning organization development of school administrators were statistically different at the .01 and .05 level.
3. The opinions of the administrators and teachers who had different status and the sizes of their respective schools about the academic leadership and the learning organization development of school administrators were statistically not different.
4. The academic leadership as perceived by the school administrators and the teachers, had relation with the learning organization development of school administrators at high level at the .01 level of significance.
5. The academic leadership in the aspects of the support of the research-based, the creation and development of personnel’s leadership and the creation of understanding in assessment criteria had the ability to predict the learning organization development of school administrators at the .01 level of significance. The predicting power was 21.90 percent with the error of .183.
Key words : learning organization , organization development , primary school.
Article Details
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร