การเปรียบเทียบมาตรการทางสังคมในการจัดการขยะของประชาชน ระหว่างเทศบาลตำบลพันนา อำเภอสว่างแดนดิน และเทศบาลตำบลพรรณานิคม อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร
Main Article Content
Abstract
การเปรียบเทียบมาตรการทางสังคมในการจัดการขยะของประชาชนระหว่างเทศบาลตำบลพันนา อำเภอสว่างแดนดิน และเทศบาลตำบลพรรณานิคม อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร
A COMPARISON OF SOCIAL MEASURE IN WASTE MANAGEMENT OF PEOPLE BETWEEN PHANNA SUB-DISTRICT MUNICIPALITY, SAWANG DAENDIN AND PHANNA NIKHOM SUB-DISTRICT MUNICIPALITY, PHANNA NIKHOM DISTRICT, SAKON NAKHON PROVINCE
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาระดับมาตรการทางสังคมในการจัดการขยะของประชาชนระหว่างเทศบาลตำบลพันนา อำเภอสว่างแดนดิน และเทศบาลตำบลพรรณานิคม อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบมาตรการทางสังคมในการจัดการขยะของประชาชนระหว่างเทศบาลตำบลพันนา อำเภอสว่างแดนดิน และเทศบาลตำบลพรรณานิคม อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ประชาชนที่มีอายุ18 ปีขึ้นไป ในเขตเทศบาลตำบลพันนา อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร จำนวน 273 คน และประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตเทศบาลตำบลพรรณานิคม อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร จำนวน 107 คน โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 380 คน เครื่องมือที่ใช้ในวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดตรวจสอบรายการและมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์โดยใช้สถิติค่า t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ด้วยค่า F-test หากพบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยรายคู่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผู้วิจัยทำการตรวจสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีทดสอบแบบ Least Significant Difference (LSD)
ผลการวิจัยพบว่า
1. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 54.5 มีอายุระหว่าง 40 – 59 ปี คิดเป็นร้อยละ 53.2 สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา / ปวช. คิดเป็นร้อยละ 36.1 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป คิดเป็นร้อยละ 38.4 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 5,000 – 10,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 41.8 และมีเขตพื้นที่อาศัยอยู่ในเทศบาลตำบลพันนา อำเภอสว่างแดนดิน คิดเป็นร้อยละ 71.8
2. ระดับมาตรการทางสังคมในการจัดการขยะของประชาชนระหว่างเทศบาลตำบลพันนา อำเภอสว่างแดนดิน และเทศบาลตำบลพรรณานิคม อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร พบว่า เทศบาลตำบลพันนา อำเภอสว่างแดนดิน ในภาพรวม อยู่ในระดับมากทุกด้าน ( = 4.27) เทศบาลตำบลพรรณนานิคม อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร ในภาพรวม อยู่ในระดับมากทุกด้าน ( = 3.91)
3. การเปรียบเทียบมาตรการทางสังคมในการจัดการขยะของประชาชนระหว่างเทศบาลตำบลพันนา อำเภอสว่างแดนดิน กับเทศบาลตำบลพรรณานิคม อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล สามารถสรุปผลได้ดังนี้
3.1 ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลพันนา อำเภอสว่างแดนดิน และเทศบาลตำบลพรรณานิคม อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ที่มีเพศ และอาชีพต่างกัน มีมาตรการทางสังคมในการจัดการขยะของประชาชนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.2 ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลพันนา อำเภอสว่างแดนดิน และเทศบาลตำบลพรรณานิคม อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ที่มีระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือนและเขตที่อยู่อาศัย แตกต่าง มีมาตรการทางสังคมในการจัดการขยะของประชาชนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.3 ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลพันนา อำเภอสว่างแดนดิน และเทศบาลตำบลพรรณานิคม อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ที่มีอายุต่างกัน มีมาตรการทางสังคมในการจัดการขยะของประชาชน ไม่แตกต่างกัน
ABSTRACT
The purposes of this study were: 1) to investigate and compare the degree of social measure in waste management of people between Phanna Sub-district Municipality, Sawang Daendin district and Phanna Nikhom Sub-district Municipality, Phanna Nikhom, Sakon Nakhon province, 2) to examine and compare social measure in waste management of people between both of municipalities as classified by personal background. A sample used was a total of 380 people at the age of 18 or over comprising 273 people in the area of Phanna Sub-district Municipality, Sawang Daendin district and 107 people in the area of Phanna Nikhom Sub-district Municipality, Phanna Nikhom district, Sakon Nakhom province. The instrument used was a checklist and rating scale questionnaire. Statistics used in data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test and one-way ANOVA. In case a significant difference was found between the means, the LSD (least significant difference) method would be used for a pairwise comparison.
The findings revealed as follows :
1. Most of the respondents were female or equal to 54.5%; 53.2% of them had their age in the 40-59 age range; 36.1% of them were secondary school graduates or equivalent; 38.4% of them were hired to do something in general; 41.8% of them had an income of between 5,000 and 10,000 baht per month; 71.8% of them had their residential area in Phanna Sub-district Municipality, Sawang Daendin district.
2. Social measure in waste management of people between both of the municipalities was found that social measure of Phanna Sub-district Municipality, Sawang Daendin district was at high level as a whole (mean = 4.27) and that of Phanna Nikhom Sub-district Municipality, Phanna Nikhom district, Sakon Nakhon province was also at high level as a whole (mean = 3.91).
3. Social measure in waste management of people between both of the municipalities in comparison can be concluded as follows:
3.1 As classified by sex and occupation, it was found that social measure in waste management of people between both of the municipalities in comparison was significantly different at the .05 level.
3.2 As classified by educational attainment, income per month, and residential area, it was found that social measure in waste management of people between both of the municipalities in comparison was significantly different at the .01 level as a whole and each aspect.
3.3 As classified by age, it was found that social measure in waste management of people between both of the municipalities in comparison was not different.
Article Details
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร