ความสัมพันธ์ระหว่างการเสริมสร้างพลังอำนาจของครูกับวัฒนธรรมองค์การของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพันที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27

Main Article Content

รุ่งทิพย์ บุญกิจ

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับการเสริมสร้างพลังอำนาจของครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 2) เพื่อเปรียบเทียบการเสริมสร้างพลังอำนาจของครูที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 จำแนกตามขนาดของโรงเรียน 3) เพื่อศึกษาระดับวัฒนธรรมองค์การของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 4) เพื่อเปรียบเทียบวัฒนธรรมองค์การของโรงเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 จำแนกตามขนาดของโรงเรียน และ 5) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเสริมสร้างพลังอำนาจของครูกับวัฒนธรรมองค์การของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่บุคลากรโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 จำนวน 340 คน จำแนกเป็นผู้บริหารโรงเรียน 20 คน และครูจำนวน 320 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามเป็นแบบมาตรประมาณค่า (Rating Scale) ชนิด 5 ตัวเลือก มีค่าความเชื่อมั่นเกี่ยวกับการเสริมสร้างพลังอำนาจของครู เท่ากับ .92 และเกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์การของโรงเรียน เท่ากับ .93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ รอยละ คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน F- test (One way ANOVA) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient)

            ผลการวิจัยพบว่า

                 1.  การเสริมสร้างพลังอำนาจของครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 โดยรวมอยู่ในระดับมาก

                 2.  โรงเรียนที่มีขนาดต่างกันมีการเสริมสร้างพลังอำนาจของครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

                  3.  วัฒนธรรมองค์การของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 27 แบบสร้างสรรค์ และแบบตั้งรับ-เฉื่อยชา อยู่ในระดับมาก ส่วนแบบตั้งรับ-ก้าวร้าวอยู่ในระดับปานกลาง

              4.  โรงเรียนที่มีขนาดต่างกันมีวัฒนธรรมองค์การของโรงเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 แบบสร้างสรรค์มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนแบบตั้งรับ –เฉื่อยชาและแบบตั้งรับ - ก้าวร้าว มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

                5. การเสริมสร้างพลังอำนาจของครูในโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง กับวัฒนธรรมองค์การของโรงเรียนแบบสร้างสรรค์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับต่ำกับวัฒนธรรมองค์การของโรงเรียนแบบตั้งรับ-เฉื่อยชา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และไม่มีความสัมพันธ์กับวัฒนธรรมองค์การของโรงเรียนแบบตั้งรับ-ก้าวร้าว

Article Details

Section
บทความวิจัย