การพัฒนาแนวทางการจัดการความรู้ของโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดของการจัดการความรู้ 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการความรู้ 3) พัฒนาแนวทางการจัดการความรู้ในสถานศึกษาโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดการจัดการความรู้ของโรงเรียนเอกชน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบและตัวชี้วัด ซึ่งผ่านการพิจารณาความเหมาะสมโดยคณะผู้เชี่ยวชาญ และอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ และการศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การจัดการความรู้ของโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ และระยะที่ 2 การพัฒนาแนวทางการจัดการความรู้ของโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทาง ซึ่งผ่านการพิจารณาความเหมาะสมโดยคณะผู้เชี่ยวชาญ และอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และการวิเคราะห์หาค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (Modified Priority Needs Index : PNImodified)
ผลการวิจัยพบว่า
- องค์ประกอบของการจัดการความรู้ของโรงเรียนเอกชน ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ 31 ตัวชี้วัด ดังนี้ 1) การบ่งชี้ประเด็นความรู้ มี 5 ตัวชี้วัด 2) การสร้างและแสวงหาความรู้ มี 4 ตัวชี้วัด 3) การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ มี 4 ตัวชี้วัด 4) การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ มี ตัวชี้วัด 5) การประมวลและกลั่นกรองความรู้ มี 4 ตัวชี้วัด 6) การบันทึกและจัดเก็บความรู้ มี 4 ตัวชี้วัด และ 7) การนำความรู้สู่การปฏิบัติ มี 5 ตัวชี้วัด
- ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ สภาพปัจจุบันการจัดการความรู้ของโรงเรียนเอกชน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง สำหรับสภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก
- แนวทางการจัดการความรู้ในสถานศึกษาโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ 31 ตัวชี้วัด และ 69 แนวทาง ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 การบ่งชี้ประเด็นความรู้ มี 5 ตัวชี้วัด 13 แนวทาง องค์ประกอบที่ 2 การสร้างและแสวงหาความรู้ มี 4 ตัวชี้วัด 9 แนวทาง องค์ประกอบที่ 3 การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ มี 4 ตัวชี้วัด 8 แนวทาง องค์ประกอบที่ 4 การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ มี 5 ตัวชี้วัด 11 แนวทาง องค์ประกอบที่ 5 การประมวลและกลั่นกรองความรู้ มี 4 ตัวชี้วัด 8 แนวทาง องค์ประกอบที่ 6 การบันทึกและจัดเก็บความรู้ มี 4 ตัวชี้วัด 10 แนวทาง และองค์ประกอบที่ 7 การนำความรู้สู่การปฏิบัติ มี 5 ตัวชี้วัด 10 แนวทาง
Article Details
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
References
10 สิงหาคม 2561. จาก http://portal.edu.chula.ac.th/edu58/index.php?main_id=28&sub_id=34&news_id=444.
คณะวารสารและสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2559). การจัดการความรู้ในองค์กร. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2561.
จาก http://blogs.jc.tu.ac.th/km/.
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2559). KM คืออะไร. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2561. จาก
http://203.131.210.88/km01/index.php/2014-07-05-11-21-31/km.
เฉลิมชัย วรรณสาร. (2556). การพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการจัดการความรู้ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1. วิทยานิพนธ์ ค.ม. เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
บัณฑิต ฉัตรวิโรจน์. (2550). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบการจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการสอนของ
นักศึกษาครู. วิทยานิพนธ์ ค.ด. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญดี บุญญากิจ และคณะ. (2548). การจัดการความรูจากทฤษฎีสูการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: จิรวัฒน เอ็กซเพรส.
ประมวล ศรีขวัญใจ. (2550). การจัดการความรู้ในโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอพระนคร ศรีอยุธยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ปาริชาติ ปรียาโชติ. (2558). รูปแบบการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาการบริหารโรงเรียนเอกชนกรณีศึกษา : โรงเรียนปรียาโชติ
อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา, 9(2), 47-62.
พวงพรรณ แสงนาโก. (2559). การจัดการความรู้ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอเขาสมิง สำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษา ประถมศึกษาตราด. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศักดิ์ศรี ปาณะกุล. (2550). หลักสูตรและการจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2555). ภูมิปัญญาไทยในการจัดการศึกษา. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2561. จาก
http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=27231&Key=news_research.
ศิริลักษณ์ เส็งมี. (2555). การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษา ขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2549). กรณีศึกษา Best Practices การสร้างความพึงพอใจและความสัมพันธ์กับลูกค้า. พิมพ์ครั้งที่
4. กรุงเทพฯ: เรดเฟิร์น ครีเอชั่น.
สุธาสินี พรมแตง และคณะ. (2557). การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
มัธยมศึกษา เขต 41. การวัดผลการศึกษา, 20(1), 232-246.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2553). ชุดเครื่องมือการเรียนรู้เรื่อง การบริหารการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ:
กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.
อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์. (2559). การพัฒนาการเรียนรู้และการปฏิบัติงาน ตอนที่ 2 Workplace Learning and Performance
(WLP). สืบค้นเมื่อ 2561. จาก http://www.hrcenter.co.th/column_detail.php?column_id=528&page=1.
เอนก ไชยโย. (2556). การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน
เขต 1. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.
Sohlussel, Art. (2009). What is Knowledge Management? And why we should care. สืบค้นเมื่อ กันยายน 2561.
จาก http://www.slideshare.net/artschlussel/what-is-knowledge-management-2979169.
Wheeler, L. L. (2003). Building a Learning Organization : A Native American Experience.
Dissertation Abstract International, 63(7), 2438–A.