ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อบ้านของผู้ที่มีรายได้ประจำในเขตเทศบาลอำเภอสว่างแดนดิน
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการซื้อและความประสงค์ต่อรูปแบบของโครงการบ้านจัดสรร กลุ่มตัวอย่างคือผู้ที่มีรายได้ประจำ ที่ทำงานอยู่ในเขตเทศบาลอำเภอสว่างแดนดินและพื้นที่ใกล้เคียง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามแบบปลายปิด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยสถิติพรรณนา ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นข้าราชการร้อยละ 64.5 รองลงมาคือ พนักงานราชการร้อยละ 19.5 พนักงานรัฐวิสาหกิจร้อยละ 8.5 พนักงานเอกชนร้อยละ 4 และกิจการส่วนตัวร้อยละ 3.5 ตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลในภาพรวม พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุ 45-50 ปี สมรสแล้ว มีบ้านเป็นของตนเองไม่มีภาระผ่อน มีเงินเดือน 20 000-30 000 บาท/เดือน มีความต้องการบ้านในราคา 1-1.5 ล้านบาท ประสงค์ที่จะผ่อนชำระเดือนละ 10 000-15 000 บาท และมีความต้องการซื้อบ้านภายในระยะเวลา 3 ปี แบบบ้านที่ต้องการมากที่สุดคือ แบบทรงไทยประยุกต์ พื้นที่ 100 ตารางวา กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่าบริเวณพื้นที่ใกล้โครงการถนนเลี่ยงเมือง เหมาะแก่การสร้างบ้านพักอาศัย
เมื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลตามขนาดของรายได้พบว่า ผู้ที่รายได้ 20 000-30 000 บาทต่อเดือนซึ่งเป็นกลุ่มที่มีสัดส่วนมากที่สุด มีความต้องการบ้านแบบ 1 ชั้น พื้นที่มากกว่า 100 ตารางวาแบบบ้านที่ต้องการมากที่สุดคือ แบบโมเดิรน์ ราคา 1-1.5 ล้านบาท ประสงค์ที่จะผ่อนชำระ 10 000 -15 000 บาทต่อเดือน มีแผนจะซื้อบ้านภายในเวลา 3 ปี ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่มีรายได้ 30 000 – 40 000 บาทต่อเดือน พบว่ามีความต้องการบ้าน 2 ชั้น แบบทรงไทยประยุกต์และแบบทรงสเปนในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน โดยต้องการบ้านราคา 1.5-2 ล้านบาทและมีความประสงค์ที่จะผ่อนชำระเดือนละ 10 000-15 000 บาท มีโครงการซื้อบ้านในระยะเวลา 2 ปี สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่มีรายได้มากกว่า 40 000 บาทขึ้นไปมีสัดส่วนค่อนข้างน้อย ส่วนใหญ่ต้องการบ้านแบบ 1 ชั้น พื้นที่ มากกว่า 100 ตารางวา ในราคา 1-1.5 ล้านบาท และ 1.5-2 ล้านในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน ประสงค์ที่จะผ่อนชำระ 10 000-15 000 บาทต่อเดือนเช่นเดียวกับ 2 กลุ่มแรก กลุ่มตัวอย่างกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่ไม่มีโครงการจะซื้อบ้าน คิดเป็นร้อยละ 46
คำสำคัญ : ผู้มีรายได้ประจำ หมายถึง ข้าราชการ พนักงานราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ลูกจ้างเอกชน และผู้ประกอบกิจการส่วนตัว
ความตั้งใจซื้อ หมายถึง การที่ผู้บริโภคจะเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด โดยความตั้งใจ ซื้อเป็นสิ่งสำคัญที่จะนำไปสู่การพฤติกรรมการซื้อจริงโดยผู้บริโภคจะพิจารณาจากข้อดีคุณภาพ และ ประโยชน์ของสินค้า เพื่อทำการเปรียบเทียบกัน และสรุปเป็นทางเลือกที่สอดคล้องกับความต้องการที่ เกิดขึ้น
Article Details
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร