การดำเนินงานตามมาตรฐานการแนะแนวของสถานศึกษาที่ส่งผลต่อสมรรถนะของนักเรียน ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง
คำสำคัญ:
มาตรฐานการแนะแนว , สถานศึกษา, สมรรถนะนักเรียนบทคัดย่อ
การวิจัยในนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการดำเนินงานตามมาตรฐานการแนะแนวของสถานศึกษาและระดับสมรรถนะของนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง และ 2) ศึกษาการดำเนินงานตามมาตรฐานการแนะแนวของสถานศึกษาที่ส่งผลต่อสมรรถนะของนักเรียน ในสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง ตัวอย่าง ได้แก่ ครูแนะแนวและครูที่ปรึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง จำนวน 289 คน ได้มาจากการใช้ตารางสำเร็จรูปของแครซี่และมอร์แกน และใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็น สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า
- การการดำเนินงานตามมาตรฐานการแนะแนวของสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (
= 4.24) และสมรรถนะของนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (
= 4.11)
- การการดำเนินงานตามมาตรฐานการแนะแนวของสถานศึกษาที่ส่งผลต่อสมรรถนะของนักเรียนในสถานศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีค่าอำนาจการพยากรณ์ .722 แสดงว่า การการดำเนินงานตามมาตรฐานการแนะแนวของสถานศึกษา สามารถพยากรณ์สมรรถนะของนักเรียนในสถานศึกษา ได้ร้อยละ 72.20 และผลการวิเคราะห์การดำเนินงานตามมาตรฐานการแนะแนวของสถานศึกษาที่ดีที่สุดที่ส่งผลต่อสมรรถนะของนักเรียนในสถานศึกษา มีจำนวน 3 ตัว ได้แก่ ด้านคุณภาพผู้เรียน (x1) ด้านคุณภาพการบริหารจัดการแนะแนว (x3) และคุณภาพการปฏิบัติงานแนะแนว ( x2) สามารถเขียนเป็นสมการพยากรณ์คะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานได้ ดังนี้
ในรูปแบบคะแนนดิบ Y= (-.64)+ .630 (x1) + .142 (x2) + .245 (x3)
ในรูปแบบคะแนนมาตรฐาน Z = .588 ( x1) +.247 ( x3) + .119 (x2 )
References
เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง, สำนักงาน. แผนพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. (ออนไลน์) 2564 (อ้างเมื่อ 26 ธันวาคม 2565). จาก http://www.spm18.go.th/itaspm18/file/58510204820220709_232651.pdf.
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงาน. การจัดการเรียนรู้กิจกรรมแนะแนว. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2559.
ฉวีวรรณ คำสี. ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการนิเทศการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษากับสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน โรงเรียนมัธยมศึกษาอำเภอกบินทร์บุรีจังหวัดปราจีนบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 7. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560.
ทดสอบทางการศึกษา, สำนัก. คู่มือประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3). นครปฐม: สำนักทดสอบทางการศึกษา, 2554.
ทิวา เหล่าปาสี และจิตติรัตน์ แสงเลิศอุทัย. “วัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อสมรรถนะของผู้ประกอบวิชาชีพครูตามมาตรฐานความรู้ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐมเขต 1,” วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย 9, 1 (มกราคม–มิถุนายน 2560): 286-298.
มนตรี อินตา. การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนางานบริการแนะแนว ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: ภาควิชาจิตวิทยา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, 2562.
เลขาธิการสภาการศึกษา, สำนักงาน. การติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2564.
วัชรินทร์ ยศรุ่งโรจน์. “ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ในสังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 33,” วารสารพิฆเนศวร์สาร. 13, 1 (มกราคม–มิถุนายน 2560): 97-115.
วิเชียร จงดี. การศึกษาสภาพการบริหารงานแนะแนวในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี, 2561.
ศึกษาธิการ, กระทรวง. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ, 2553
อรินทรา อยู่หลาบ. การบริหารกับการดำเนินงานแนะแนวของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2560.
อมรรัตน์ คำหอม, ยงยุทธ ยะบุญธง และชูชีพ พุธประเสริฐ. “การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการงานแนะแนวในโรงเรียนการศึกษาภาคบังคับ เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาสะเมิง 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต,” วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต. 14, 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2561): 75-89.
อิทธิพัทธ์ สุวทันพรกูล. การวิจัยทางการศึกษา: แนวคิดและการประยุกต์ใช้. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการวัดผลและวิจัยการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2562
อธิคุณ วิเชียรศรี. แนวทางการส่งเสริมสมรรถนะนักเรียนตามหลักภาวนา 4 ของนักเรียนกลุ่มโรงเรียนวิเศษเมืองทองสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2564.
Anup, Baugh. “The importance of guidance and counseling in present education system: Role of the teacher,” International Journal of Advanced Educational Research. 3, 2 (March 2018): 384-386.
Ebizie, Elizabeth Nkechi. “The Role of Guidance and Counselling in Effective Teaching and Learning in Schools,” International Journal of Multidisciplinary Studies. 1, 2 (October 2016): 36-48.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกอย่างน้อย 2 คน ความคิดเห็นในวารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนมิใช่ความคิดเห็นของผู้จัดทำ จึงมิใช่ ความรับผิดชอบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี และบทความในวารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี สงวนสิทธิ์ตามกฎหมายไทย การจะนำไปเผยแพร่ต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากกองบรรณาธิการ