การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ด้านการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิด การสืบเสาะหาความรู้ เสริมด้วยเทคนิควิธีการแบบ KWDL

ผู้แต่ง

  • ศรุตา พิชัยภูษิต สาขาวิชาการวิจัยและประเมินผลการศึกษา ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • พงษ์ศักดิ์ ศรีจันทร์ สาขาวิชาการวิจัยและประเมินผลการศึกษา ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

คำสำคัญ:

การวิจัยเชิงปฏิบัติการ , การสืบเสาะหาความรู้เป็นกลุ่ม , เทคนิควิธีการแบบ KWDL , ความสามารถในการ สื่อสารทางคณิตศาสตร์ด้านการเขียน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ ที่ส่งเสริมความสามารถในการสื่อสาร  ทางคณิตศาสตร์ด้านการเขียน โดยใช้การสืบเสาะหาความรู้เป็นกลุ่ม เสริมด้วยเทคนิควิธีการแบบ KWDL 2) ศึกษาผลการพัฒนาความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ด้านการเขียน หลังการใช้วิธีการสืบเสาะหาความรู้  เป็นกลุ่ม เสริมด้วยเทคนิควิธีการแบบ KWDL กลุ่มเป้าหมายของการวิจัยได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนแห่งหนึ่ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา อุดรธานี เขต 1 จำนวน 14 คน ระเบียบวิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ร้อยละ จำนวน 9 แผน การวิจัยครั้งนี้แบ่งเป็น 3 วงจรปฏิบัติการ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลการปฏิบัติ ได้แก่ แบบสังเกตพฤติกรรมการสอนของครู และแบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน สังเกตโดยครูผู้ช่วยวิจัย แบบสัมภาษณ์ผู้เรียนในท้ายวงจรปฏิบัติการ โดยผู้วิจัยและผู้ช่วยวิจัย และแบบทดสอบท้ายวงจรปฏิบัติการ 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบวัดความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ด้านการเขียน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

      ผลการวิจัยพบว่า

  1.  การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ร้อยละ โดยใช้การสืบเสาะหาความรู้เป็นกลุ่ม เสริมด้วยเทคนิควิธีการแบบ KWDL ที่สามารถพัฒนาความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ด้านการเขียนของนักเรียนมี 6 ขั้นตอนที่สำคัญ ได้แก่ ขั้นระบุหัวข้อในการศึกษาและจัดกลุ่มให้นักเรียน ขั้นวางแผนในการเรียนรู้  ขั้นดำเนินการสืบเสาะหาความรู้ ในขั้นนี้นักเรียนแก้ปัญหาและสื่อสารแนวคิดทางคณิตศาสตร์ผ่าน
    ใบกิจกรรม ตามเทคนิควิธีการแบบ KWDL 4 ขั้นตอน ขั้นเตรียมนำเสนอรายงานของกลุ่ม ขั้นนำเสนอรายงานเป็นกลุ่ม และขั้นการประเมินผล
  2.  นักเรียนมีความสามารถในสื่อสารทางคณิตศาสตร์ด้านการเขียน จากการทดสอบวัดความสามารถ ในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ด้านการเขียน ตามเกณฑ์ที่ผู้วิจัยกำหนดไว้ มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 32.57 คิดเป็นร้อยละ 90.48 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.85 ซึ่งนักเรียนทุกคนมีคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75

References

วิชาการ, กรม. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการ, 2551.

กรวิกา ปานศักดิ์. “การพัฒนาความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเสริมต่อการเรียนรู้ เรื่อง จำนวนจริง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4,” วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 13, 2 (เมษายน-มิถุนายน 2562): 32-44.

วัชรา เล่าเรียนดี. การนิเทศการสอน สาขาหลักสูตรและการนิเทศ. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2553.

ปารวัณ เหง้าโคกงาม. การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคำนวณเรื่องปริมาณสารสัมพันธ์ โดยใช้กิจกรรมการเรียนแบบการสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับเทคนิค KWDL ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 2562.

ภัทราพร เกษสังข์. การวิจัยปฏิบัติการ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559.

มณีญา สุราช. การวัดและประเมินผลการศึกษา. อุดรธานี: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 2558.

ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สถาบัน. คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เล่ม 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2551.

สิริพร ทิพย์คง. หลักสูตรและการสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: พัฒนาคุณภาพชีวิต, 2545.

สุวิมล ว่องวาณิช. การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555.

อภิวรรณ แก้วภูสี. ความสามารถในการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้เป็นกลุ่ม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2556.

อัมพร ม้าคนอง. ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ การพัฒนาเพื่อพัฒนาการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553.

Kemmis, S. and R. McTaggart. The Action Research Planer 3rd ed. Stale: Victoria Deakin University, 1988.

Kennedy Leonard, M. and Steve Tipps. Guiding Children’s Learning of Mathematics. 7th ed. California: Wadsworth, 1994.

Parchment, Garonia L. A Study Comparing Cooperative Learning Methods: Jigsaw and Group Investigation. Mathematical and Computing Sciences Masters St. John Fisher University, 2009.

Sharan, Y. and S. Sharan. "Group Investigation Expands Cooperative Learning," Educational Leadership. 47, 4 (December1989-January 1990): 17-21.

Slavin, R. E. Cooperative learning 2nd ed. U.S.A.: Allyn and Bacon, 1995.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-29

How to Cite

พิชัยภูษิต ศ. ., & ศรีจันทร์ พ. (2024). การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ด้านการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิด การสืบเสาะหาความรู้ เสริมด้วยเทคนิควิธีการแบบ KWDL. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 19(1), 21–34. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Pitchayatat/article/view/264083