ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมกับประสิทธิผลของงานวิชาการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4

ผู้แต่ง

  • เอมมิกา บุญรักษา สาขาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
  • จิตติมาภรณ์ สีหะวงษ์ สาขาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
  • สิริกัลยา สุขขี สาขาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

การบริหารงานแบบมีส่วนร่วม , ประสิทธิผลของงานวิชาการ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 2) ศึกษาระดับประสิทธิผลของงานวิชาการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมกับประสิทธิผลของงานวิชาการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 331 คน และใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิและเทียบสัดส่วนตามขนาดสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

            ผลการวิจัยพบว่า

  1. การบริหารงานแบบมีส่วนร่วม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ศรีสะเกษ เขต 4 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับจากค่าเฉลี่ยมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านการประเมินผล ด้านการคิดและตัดสินใจ ด้านการดำเนินการและด้านการรับผลประโยชน์
  2. ประสิทธิผลของงานวิชาการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับจากค่าเฉลี่ยมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาและด้านการวัดผล ประเมินผลและดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน ด้านการจัดการเรียนการสอน และด้านการวิจัยในชั้นเรียน
  3. ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมกับประสิทธิผลของงานวิชาการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กันเชิงบวกในระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

References

กิติพงษ์ ลือนาม. วิธีวิทยาการวิจัยทางการศึกษา. นาครราชสีมา: โคราช มาร์เก็ตติ้ง แอนด์ โปรดักชั่น, 2561.

การศึกษากรุงเทพมหานคร, สำนัก. นักบริหารการศึกษามหานครระดับสูง รุ่นที่ 2. กรุงเทพฯ: ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร, 2550.

เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4, สำนักงาน. แผนพัฒนาการศึกษาพ.ศ.2560-2564. ศรีสะเกษ: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4, 2564.

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สํานักงาน. รายงานการศึกษาสภาพการจัดการเรียนรูตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนนําร องและโรงเรียนเครือข่าย. กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2550.

จิตรา แก้วมะ. ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สกลนคร เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 2563.

เจริญพงศ์ คงทน. ประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 2558.

ชนิตา ชัยศุภวัฒน์. ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารการศึกษาแบบมีส่วนร่วมกับประสิทธิผลของงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการเขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 2559.

ถวิลวดี บุรีกุล. การมีส่วนร่วม: แนวคิด ทฤษฎีและกระบวนการ. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า, 2552.

ปานดวงใจ แฮนเกตุ. ความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมของครูกับประสิทธิผลงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนครเขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร, 2559.

พาตีฮะห์ เดเบาะ. การมีส่วนร่วมของครูในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษายะลา เขต 3. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, 2562.

วิชาการ, กรม. การสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง. กรุงเทพฯ: โครงการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา, 2543.

ศิวพร ละหารเพชร. ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขนาดเล็กตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 2562.

อนงค์ อาจจงทอง. ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 2557.

เอื้อมพร หลินเจริญ, สิริศักดิ์ อาจวิชัย และภีรภา จันทร์อินทร์. ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ทำให้ คะแนนการทดสอบ

O -NET ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ต่ำ. กรุงเทพฯ: สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน), 2552.

Meegan, E. A. Participation in planning and quality of catholic elementally school in Milwaukee. Dissertation Abstracts International, 1986.

Miller, J. A. Required participation in curriculum planning and implementation of curriculum guides. Dissertation Abstracts International, 1989.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31

How to Cite

บุญรักษา เ. ., สีหะวงษ์ จ. ., & สุขขี ส. . (2023). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมกับประสิทธิผลของงานวิชาการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 18(2), 51–62. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Pitchayatat/article/view/262020